Quantcast
Channel: DroidSans - 4G
Viewing all 45 articles
Browse latest View live

LTE band ต่างๆคือคลื่นความถี่อะไรบ้าง? และทำไมถึงไม่มีคลื่นมาตรฐาน?

$
0
0

แผนที่โลกบ่งชี้ประเทศที่มีการนำเอาเทคโนโลยี LTE ไปใช้

ประเทศที่ให้บริการ 4G / ประเทศที่กำลังดำเนินการหรือวางแผน / ประเทศที่กำลังทดสอบ

หลายๆคนที่ชอบอ่านสเปคโทรศัพท์มือถือ แล้วค้นหาไปเจอเรื่องการรองรับ 4G LTE แล้วหลายๆแหล่งมักจะเขียนว่ารองรับ Band 1, 3 ,7, 28 หรืออะไรก็ตามที ซึ่งก็น่าจะงงกันว่า แล้ว Band เหล่านี้มันคือคลื่นความถี่อะไรบ้าง และมันรองรับของที่ประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวผมเองก็มึนเช่นเดียวกัน ฉะนั้นจึงขอไปสรุปเอาจาก Wikipedia มาให้ได้ทราบกัน

 ตารางสรุป 4G LTE คลื่นความถี่ (Frequency) และBand ต่างๆ รวม 25 Band

Bandความถี่ (MHz)Duplex Mode
12100FDD
21900FDD
31800FDD
41700FDD
5850FDD
72600FDD
8900FDD
91800FDD
111500FDD
12700 aFDD
13700 cFDD
17700 b cFDD
18800FDD
19800FDD
20800FDD
211500FDD
251900 gFDD
26800FDD
28700FDD
382600TDD
20800FDD
402300TDD
412500TDD
423500TDD
433600TDD

แต่สำหรับคนที่กำลังจะเดินทางไปต่างประเทศแล้วอยากรู้ประเทศนั้นๆรองรับ 4G LTE คลื่นความถี่อะไรบ้าง ก็เข้าไปดูใน Wikipedia :: List of LTE Networksได้นะครับ ไล่มาให้ครบเลย

แต่ถ้าเอาสรุปประเทศสำคัญๆ ก็น่าจะประมาณนี้ คือ 

ไทยรองรับ Band 1 หรือ 2100MHz (DTAC&TRUE)

อเมริการองรับ Band 4 หรือ 1700MHz เป็นสำคัญ

ญี่ปุ่นรองรับ Band 1 หรือ 2100MHz แบบเดียวกับที่ไทย

สิงคโปร์-ฮ่องกง-จีนรองรับ Band 3,7 หรือ 1800, 2600MHz เป็นสำคัญ

เกาหลีรองรับ Band 1, 3, 5 หรือ 2100, 1800, 850MHz

ประเทศแถบยุโรปรองรับ 3, 7, 20 หรือ 1800, 2600, 800MHz เป็นสำคัญ

ฉะนั้นถ้าให้แนะนำมองหามือถือที่รองรับ 4G LTE Band 1, 3, 4, 7ครับ

ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมหรืออยากจะเสริมส่วนไหน มาบอกได้ใน Comment เลยนะครับ เดี๋ยวเพิ่มให้

 

ทางคุณ pd2002มาเขียนเพิ่มเติมถึงสาเหตุว่าทำไม LTE ถึงได้มีคลื่นความถี่หลายมาตรฐานให้นะครับ

ทำไม LTE ไม่มีมาตรฐานคลื่นเดียว (และเทคโนโลยีที่จะใช้หลังจากนี้ด้วย)?

ปกติแล้ว 3G 2100 ที่มันมีมาตรฐาน เพราะมันออกแบบมาให้ใช้คลื่นได้จำกัด คือไม่สามารถใช้มากกว่าจำนวนที่ออกแบบได้แล้ว ดังนั้น 2100 ชุดเดียว ก็สามารถรองรับ 3G ได้หลายค่าย (อย่างบ้านเรา 15MHzx4 / 2100 มีคลื่นให้ใช้ได้ 60MHz)

แต่ LTE มันเกิดหลังจาก 3G ดังนั้นคลื่นที่เหลือแต่ละประเทศจึงไม่ตรงกัน (เป็นการเอาคลื่นจากส่วนอื่นมารีฟาร์มเป็น LTE) มันเลยต้องออกแบบให้รองรับได้หลายคลื่นเป็นพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับค่ายมือถือ/Regulator แต่ว่า

 LTE-A มีเทคโนโลยีจุดเด่นเรียกว่า Carrier Aggregation คือการเอาคลื่นหลายๆคลื่นมารวมๆกัน เพื่อให้ความเร็วมันเพิ่มมากขึ้น อย่างตอนนี้เกาหลี ให้บริการที่ 225 Mbps มันเกิดจากการเอาคลื่นหลายคลื่นมาผสมกัน

ในกรณีนี้ เช่นค่าย SK Telecom ใช้ 850 10MHz, 1800 20MHz, 2100 10MHz รวมกันได้ 40 MHz ได้ความเร็ว 225 Mbps (คิดง่ายๆแบบชาวบ้าน 10MHz = 75Mbps) และก็เป็นแบบนี้กับประเทศอื่นค่ายอื่นด้วยเช่นกันครับ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม LTE, LTE-A ไม่มีคลื่นมาตรฐานแล้ว คือมัน support ทุกคลื่น มือถือก็ต้องทำให้ support แบนด์หลักๆด้วยครับ ในอนาคตอีกสองสามปีจะมี LTE 700 อีก เพราะมันเป็นคลื่นรีฟาร์มจากฝั่ง Broadcast 700 นี่ลงเสาเดียว ตูมมม รัศมีสะใจไปเลย คุ้มมาก


เครือข่ายมือถือ 3G, H, H+ ต่างกันอย่างไร ทำไมสลับไปมา LTE และ 4G เหมือนกันไหม? มาหาคำตอบกัน

$
0
0

 

ในยุคที่สมาร์ทโฟนครองเมืองแบบนี้ Data Connectionนั้นเป็นสิ่งสำคัญ หลายๆคนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า 3G, H, และ H+กันอยู่แล้ว คนส่วนใหญ่ก็จะเรียกรวมๆว่า 3Gนั้นแหละ แต่เจ้า Android ของเรามันไม่มองแบบนั้นหล่ะสิ เดี๋ยวก็ขึ้น 3Gเดี๋ยวก็ขึ้น Hหรือ H+เรามาดูกันดีกว่าว่าจริงๆแล้วทั้ง 3 ตัวนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ทำไมเน็ตถึงเร็วเฉพาะตอนขึ้น Hกับ H+แล้วไหนจะ 4Gกับ LTEอีกหล่ะ เรามาหาคำตอบกัน

 

ก่อนอื่นเรามาย้อนดูประวัติศาสตร์ 3G ก่อนนิดนึง 3G หรือ 3rd Generation หมายถึงรุ่นที่ 3 ของการรับส่งสัญญาณแบบ GSM ในช่วงแรกนั้นยังมีหลายมาตราฐานพยายามแย่งกันขึ้นเป็นผู้นำในมาตราฐาน 3G เช่น CDMA2000 ของ Hutch ที่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว สุดท้ายแล้วผู้ที่อยู่ยงคงกระพันและได้ขึ้นมาเป็นเจ้าแห่งมาตราฐาน 3G ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็คือ UMTSนั้นเอง

ในยุคแรกนั้น 3G/UMTS ยังมีความเร็วค่อนข้างต่ำ สามารถรับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ความเร็ว 384 kbpsเนื่องจากยังใช้เทคโนโลยี WCDMAอยู่ ต่อมานั้นได้มีการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจนเป็น HSPAหรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ Hซึ่งทำให้สามารถทำความเร็วได้มากขึ้น อยู่ที่ประมาณ 2-7.2 Mbpsจากนั้นก็ได้มีการ พัฒนา HSPA ขึ้นไปอีกจนเป็น HSPA+หรือ H+นั้นเอง ซึ่งจะทำให้ได้ความเร็วอยู่ที่ 21-42 Mbpsครับ

เปรียบเทียบความเร็วของเครือข่ายแต่ละประเภท

 

สรุปอย่างสั้นๆก็คือ 3G นั้นแบ่งเป็นมาตราฐานใหญ่ๆได้  2 มาตราฐานตัวดังนี้

  • CDMA2000 (ปัจจุบันไม่มีใช้แล้ว)
  • UTMS
UTMS ใช้เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลที่มีชื่อดังต่อไปนี้
  • WCDMA   เป็นเทคโนโลยี UTMS ในยุคแรกๆ ยังส่งข้อมูลได้ช้า
  • HSPA       พัฒนาต่อจาก WCDMA ส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
  • HSPA+    พัฒนาต่อจาก HSPA อีกต่อหนึ่งส่งข้อมูลได้เร็วมากขึ้นอีก
ซึ่งเจ้า Android ของเราจะเข้าใจว่า WCDMA นั้นคือ 3G ก็เลยใช้คำว่า"3G"ไปเลย ต่อมามี HSPA ก็เลยเพิ่มสัญลักษณ์ "H"ขึ้นมา ต่อมามี HSPA+ มาอีกก็เลยเพิ่ม H+ขึ้นมาอีก

 

แล้วทำไมถึงเห็นสัญลักษณ์ 3G, H, และ H+ สลับไปมาหล่ะ ? สัญญาณไม่ดี ?

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเราไม่ได้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่ มือถือจะสั่งให้ชิพรับส่งสัญญาณนี้ เปลี่ยนไปเป็นสถานะว่าง (idle) เพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งจะทำให้ Android ของเราแสดงสัญลักษณ์ "3G"หรือ "H"แล้วแต่เครื่องและเสาสัญญาณ แต่เมื่อมีการเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ต มือถือจะสั่งให้ชิพให้ ทำงาน (active) ซึ่งจะใช้พลังงานมากกว่า และทำให้หน้าจอแสดงสัญลักษณ์ "H"หรือ "H+"ตามภาพด้านล่างนี้


(1) เมื่อเครื่องเราจะ connect ใช้งาน internet เครื่องจะปรับให้ใช้พลังงานมากขึ้น
และจะใช้เวลาในการเชื่อมต่อประมาณ 2 วินาที (หรือแล้วแต่การ config ของเครือข่าย)
image courtesy : stevesouders.com

กระบวนการเปลี่ยนไปมาระหว่างสถานะ idleและ activeนี้แหละที่ทำให้เจ้า Android ของเราแสดงสัญลักษณ์ 3G สลับไปมากับ H และ H+ โดย

  • ในช่วงเริ่มต้นการเชื่อมต่อ (ตามภาพด้านบนคือหมายเลข 1) นั้นมีการเรียกใช้สัญญาณจากมาตราฐานเดิมตั้งแต่สมัย WCDMAซึ่ง Android ของเราก็จะแสดงสัญลักษณ์ "3G"
  • เมื่อเชื่อมต่อสำเร็จ ก็จะเริ่มใช้การรับส่งข้อมูลแบบ HSPAและ HSPA+แล้วแต่ว่าเราอยู่ในเขตสัญญาณและเสาแบบไหน ซึ่งตรงนี้ Android ก็จะแสดงสัญลักษณ์เป็น "H"หรือ "H+"แล้วครับ

ถ้าใครนึกภาพไม่ออก ให้นึกถึงเวลาเราโทรหาคนอื่น ขณะที่ทำการเชื่อมต่อก็จะมีเสียงรอสาย ตรงนั้นเปรียบเสมือนช่วงที่กำลังเชื่อมต่อโดยใช้ "3G"เมื่ออีกฝ่ายรับสายและเริ่มพูดคุย นั้นเปรียบเสมือนการเชื่อมต่อสำเร็จ และเริ่มส่งข้อมูลด้วย "H"ครับ

*ใน iPhone จะแสดงเป็นคำว่า "3G"ทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการให้ผู้ใช้สับสน


chart แสดงถึงจุดที่จะรับสัญญาณเป็น 3G, H, และ H+  แต่ถ้าใครที่อยู่ในบริเวณที่มีเสาสัญญาณหนาแน่น ก็อาจจะเห็นหน้าจอแสดงเป็น H ตลอดเวลาแทน 3G ได้เช่นกัน

จากชาร์ตข้างต้นอาจจะสงสัยกันว่าระยะของ H+, H, และ 3G มีรัศมีประมาณเท่าไหร่ ตรงนี้ก็ต้องบอกว่าขึ้นกับประเภทของเสา และความถี่ของคลื่น (850/900/2100MHz) แต่รายละเอียดไม่ขอลงลึกเดี๋ยวมันจะยาวไปครับ

Tips: รู้หรือไม่ว่าตัวชิพรับส่งสัญญาณมือถือนี้ เป็นตัวที่กินพลังงานมากที่สุดตัวนึงของสมาร์ทโฟนในยุคนี้ หากเราลองถอดซิมปิดการเชื่อมต่อด้วยมือถือ จะยืดเวลาการใช้งานโทรศัพท์ได้อีกมากเลยทีเดียวครับ

 

ทำไมยืนข้างเสาแล้วยังขึ้นเป็น "3G"อยู่ ?

ในบางพื้นที่เช่นในต่างจังหวัดที่มีคนใช้น้อย มีความเป็นไปได้ว่าเสารับส่งสัญญาณเองจะยังใช้เทคโนโลยีเก่าอยู่ ทำให้ต่อยังไงก็จะขึ้นแค่ 3G หรือ H เท่านั้น แต่หากเกิดในเมือง เป็นไปได้ว่าเมื่อมือถือเราพยายามจะเชื่อมต่อกับเครือข่าย (ในแผนภาพด้านบนคือหมายเลข 1) แต่ว่าไม่สามารถเชื่อมต่อให้สำเร็จได้ ซึ่งก็อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เสาสัญญาณที่เรากำลังเกาะอยู่นั้นมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ทำให้เการเชื่อมต่อไม่สำเร็จ ก็เลยยังแสดงสัญลักษณ์เป็น "3G"อยู่ครับ กรณีนี้ถ้าลองเชื่อมต่อใหม่ (กดปิดเปิด Data อีกครั้ง) ก็น่าจะทำให้เชื่อมต่อได้สำเร็จและเปลี่ยนเป็น H ได้ครับ 

หรือในอีกกรณีหนึ่งก็คือ Android จากผู้ผลิตบางเจ้าพยายามทำตามการแสดงสัญลักษณ์ของ iPhone นั้นก็คือใช้คือว่า "3G"ทั้งหมดเลยไม่ว่าจะเป็นสถานะการเชื่อมต่อแบบไหน เพื่อไม่ให้ผู้ใช้สับสนนั้นเอง


แล้ว 4G กับ LTE นั้นเหมือนกันไหม? อะไรดีกว่ากัน?

จริงๆแล้วคำว่า "4G"นั้นจะหมายถึง "ยุคที่ 4"ของเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย ที่ถูกกำหนดมาตราฐานความเร็วไว้ที่ระดับ 1 Gbpsซึ่งในปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถทำได้ ความเร็วของ LTEนั้นอยู่ที่ระดับ 100 Mbps (ญี่ปุ่นทำได้ 200 กว่าแล้ว) เท่านั้นแต่นั้นก็ถือว่าเร็วมากแล้วเมื่อเทียบกับ HSPA+ ที่มีความเร็วอยู่ราวๆ 21-42 Mbps นั้นอาจจะทำให้บางคนคิดว่า LTE มันคืออีกขั้นของความเร็วอินเตอร์เน็ตที่เร็วกว่า 3G เรียกมันว่า 4G เลยละกัน... ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่เชิง เพราะ LTE เป็นเพียงหนึ่งรูปแบบของ 4G เท่านั้น ช่วงแรกๆก็มีการคัดค้านเรื่องการเรียกนี้ แต่มาหลังๆก็เริ่มปล่อยเลยตามเลยเพราะความคิดนี้มันเริ่มแพร่หลายไปแล้ว เครือข่ายต่างๆทั่วโลกก็เริ่มโปรโมท LTE เป็น 4G ไปแล้ว ดังนั้นเราจะเรียก LTE ว่า 4G ไปเลยก็คงไม่มีใครค้าน

นอกจาก 4G LTE แล้ว ยังมีมาตราฐานอื่นๆที่พัฒนามาคู่ขนานกันมานั้นก็คือ 4G UMBแต่ว่าได้หยุดการพัฒนาไปแล้วเนื่องจากมาตราฐาน LTE นั้นมาแรงกว่า ได้รับความนิยมมากกว่านั้นเอง

อีกตัวหนึ่งที่อาจจะเคยได้ยินชื่อกันก็คือ 4G WiMAXที่ถือว่าเป็น 4G ตัวแรกสุดที่เกิดมาก่อน 4G LTE เสียอีก แต่ว่าก็ได้หยุดการพัฒนาลงด้วยเหตุผลเดียวกันก็คือ 4G LTE นั้นได้รับความนิยมมากกว่า

หวังว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยให้กับเพื่อนๆหลายคนได้นะครับ หากมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติมเพื่อนๆสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ด้านล่างเลยครับ จะพยายามเข้ามาไขข้อข้องใจให้ครับผม

 

Source: Saran2530's Blog, Telecomtalk, giffgaff

ไขข้อข้องใจ 3G, H, H+ ต่างกันอย่างไรแล้วทำไมชอบสลับไปมา

$
0
0

เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยเห็นเครื่องหมาย 3G, H, และ H+ ขึ้นสลับกันไปมาบนหน้าจอแล้วก็คงเคยสงสัยว่าเกิดจากอะไรใช่ไหม?

คำตอบของเรื่องนี้ก็คือเมื่อเราไม่ได้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอยู่ มือถือก็จะสั่งให้ชิพรับส่งสัญญาณเปลี่ยนไปเป็นสถานะว่างเพื่อประหยัดพลังงาน จึงทำให้ Android ของเราแสดงสัญลักษณ์ "3G"หรือ "H"ซึ่งก็จะแล้วแต่เครื่องและเสาสัญญาณที่ต่างกันไปด้วย แต่เมื่อมีการใช้งานอินเตอร์เน็ต มือถือจะสั่งให้ชิพทำงานและแสดงสัญลักษณ์ "H"หรือ "H+"ขึ้นมาแทน ทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าเราอยู่ในเขตสัญญาณและเสาแบบไหน ใช้เทคโนโลยีอะไร รวมถึงยังขึ้นอยู่กับว่าในพื้นที่นั้นๆ มีคนใช้มาก น้อยแค่ไหนด้วยนะ

ส่วนถ้าอยากรู้เรื่องนี้แบบเจาะลึกมากขึ้นก็เข้าไปอ่านกันได้จาก blog ของ @Ong29673>> เครือข่ายมือถือ 3G, H, H+ ต่างกันอย่างไร ทำไมสลับไปมา LTE และ 4G เหมือนกันไหม? มาหาคำตอบกัน

 

 

 

 

 

 

 

IxBTlozWz0o

ฮือฮากันสิ เมื่อ AIS ส่งข้อความให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนซิมใหม่ เพื่อรองรับ 4G ที่จะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

$
0
0

เรียกว่างงไปตามๆ กันเมื่อจู่ๆ วันนี้เพื่อนๆ บางคนได้รับข้อความจาก AIS ว่าซิมที่ใช้งานอยู่นั้นเก่าเกินไป อาจจะหมดอายุและไม่รองรับ 4G ที่จะเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้ แล้วก็เชิญชวนให้ไปติดต่อขอเปลี่ยนซิมใหม่ที่ร้าน AIS Shop, Telewiz และ AIS Buddy เสร็จสรรพ หรือนี่คือสัญญาณว่า AIS นั้นวางโครงข่าย 4G ไว้พร้อมรอรับการประมูลคลื่น 4G ที่กำลังจะมาถึงเร็วๆ นี้

ดูท่ากระแส 4G LTE ในช่วงปีนี้น่าจะมาแรงมากๆ หลังจากที่ dtac และ truemove H ขยายสัญญาณและเครือข่าย 4G LTE กระหน่ำแหลกและเริ่มเปิดให้ใช้งานในต่างจังหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการประมูลคลื่น 4G 1800 MHz ที่กำลังจะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ หลังจากคลื่นจะหมดสัมปทานไปปีที่แล้ว (ถ้าไม่โดนโรคเลื่อนไปอีกรอบ) ทำให้ทาง AIS ต้องออกมาขยับตัวสักเล็กน้อย

นัยหนึ่งก็พอจะคาดเดาได้ว่าอาจจะมีคนย้ายค่ายออกไปลองใช้งาน 4G ของเครือข่ายอื่นๆ พอสมควร เลยต้องส่ง SMS ที่เกี่ยวกับเรื่องของ 4G ติดมาด้วย ประมาณว่าอย่าเพิ่งย้ายไปไหน เดี๋ยวเราก็มี 4G ให้ใช้เหมือนกัน

อีกนัยหนึ่งก็อย่างที่คาดเดากันไว้ว่าตอนนี้ทาง AIS คงเตรียมระบบ 4G เอาไว้พร้อมแล้วในระดับนึง แค่รอการประมูลที่จะมาถึงนี้เท่านั้น คาดว่าในช่วงปลายปีเราก็น่าจะได้เตรียมตัวรับ 4G คลื่นใหม่ บนความถี่ 1800 MHz ซึ่งเป็นคลื่นที่มีอุปกรณ์รองรับค่อนข้างมากกว่าคลื่น 2100 MHz เพราะเป็นหนึ่งในคลื่นมาตรฐานที่ใช้กันในหลายๆ ประเทศ แต่จะมีใครประมูลคลื่นไปได้ และได้ความถี่กว้างเท่าไหร่บ้างนั้น คงต้องติดตามกันอีกที รอบนี้อาจจะมีเซอร์ไพรส์ก็เป็นได้..

dtac เริ่มทดสอบ VoLTE เตรียมเปิดให้บริการเป็นรายแรกในไทยเร็วๆ นี้

$
0
0

dtac เริ่มทดสอบ VoLTE ในไทยแล้ว เพื่อเป็นการต่อยอดการใช้งานคลื่น 4G หลังจากวางเสาสัญญาณไปกว่า 40 จังหวัดในช่วงที่ผ่านมา โดยในช่วงแรกของการทดสอบระบบการใช้งานเสียงผ่าน 4G หรือ VoLTE (Voice-over-LTE) นั้นจะเริ่มเป็นการภายในโดยพนักงานของ dtac ก่อน จากนั้นจึงจะเปิดให้บริการกับลูกค้าในภายหลัง

อะไรคือ VoLTE ?

VoLTE หรือ Voice-over-LTE คือการนำเอาคลื่น 4G LTE ที่ปกติแล้วใช้ในการรับส่งข้อมูลเท่านั้น มาใช้งานในการรับส่งสัญญาณเสียงหรือใช้งานโทรศัพท์นั่นเอง ลองสังเกตุดูว่าในตอนนี้หากเราใช้เครือข่าย 4G อยู่ เวลากดโทรศัพท์เพื่อโทรออก หรือหากเรากดรับสายก็ตาม สัญญาณจะถูกเปลี่ยนมาเป็นระบบ 3G หรือ 2G กลายเป็นตัว H, H+ หรือ E ไปในบางครั้ง (ทำความรู้จักสัญลักษณ์ LTE, H+, H , E บนสมาร์ทโฟน) แต่ถ้าหากมีการใช้งาน VoLTE แล้วละก็ คลื่นโทรศัพท์ก็จะไม่มีการสลับไปมา คือใช้ 4G LTE ได้ทันที จากเดิมที่ีมีการหน่วงเวลาประมาณ 5 วินาทีในการสลับคลื่นก่อนโทร ก็จะสามารถโทรได้ในทันทีเพราะไม่ต้องสลับคลื่นแล้ว

สำหรับระบบ 4G VoLTE นั้นสามารถใช้งานได้เฉพาะบางเครื่องที่รองรับเทคโนโลยี VoLTE ด้วยกันเท่านั้น ไม่ใช่ว่าทุกรุ่นที่รองรับ 4G แล้วจะใช้ได้ โดยในระหว่างนี้ทาง dtac ได้เลือกใช้ Samsung Galaxy S6, Galaxy S6 edge และ dtac Eagle X เป็นเครื่องทดสอบ ซึ่งนอกจากระบบ VoLTE แล้ว ทาง dtac เองก็บอกว่าระบบ Video Call บนคลื่น 4G ก็จะได้รับอานิสงค์ให้มีความละเอียดและคมชัดมทากขึ้นเป็น HD 720/1080 ด้วย

ตอนนี้ก็ได้แต่รอว่าทาง dtac เองจะเปิดให้ทดลองใช้งานได้เมื่อไหร่ ส่วนตัวคิดว่าหากมีการทดสอบกันเองเป็นการภายในแล้วทำไมถึงรีบประกาศข่าวออกมาก่อน นี่ส่วนตัวผมก็นึกว่าเปิดให้ประชาชนคนทั่วไปทดลองใช้งานได้ด้วยซะอีก ผมนี่แอบเซ็งเลย > <

AIS เผยรายละเอียดข้อตกลงกับ TOT ช่วยบริหารคลื่น 2100MHz หวังสานต่อไปถึง 2300MHz

$
0
0

หลังจากก่อนหน้านี้เพิ่งมีข่าวไปว่า AIS ได้คลื่นเพิ่ม คว้า 2100MHz จาก TOT ต่อยอด 3G ของบริษัท ซึ่งเนื้อหาในข่าวนั้นมาจากคำพูดของผู้บริหาร TOT มาวันนี้ทาง AIS ก็ได้ออกมาให้ข่าวกับ The Nation สื่อยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยบ้างแล้ว โดยเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจหลายอย่างเกี่ยวกับข้อตกลงที่ AIS ทำกับ TOT และมีความชัดเจนแล้วว่า AIS กับ TOT จะมีการเซ็นต์สัญญา MoU เพื่อตกลงเป็นพันธมิตรกัน 10 ปีก่อนการประมูลคลื่น 900MHzวันที่ 15 ธันวาคมนี้

 

 

AIS 4G บนคลื่น 1800

แหล่งข่าวของ AIS บอกกับ The Nation ว่า AIS จะใช้ bandwidth 15MHz บนคลื่น 1800 ที่ AIS เพิ่งชนะการประมูลมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในการให้บริการ 4G ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะสามารถบรรเทาความแออัดในการใช้อินเตอร์เน็ต 3G บนคลื่น 2100 ของ AIS ได้มากพอสมควร

 

ข้อตกลงระหว่าง AIS กับ TOT

AIS มีแผนที่จะเปิด roaming กับ TOTให้ลูกค้าของ TOT สามารถใช้งานสถานีฐานของ AIS บนคลื่น 2100 ที่มีอยู่ทั่วประเทศได้ ซึ่งจะทำให้ TOT มีบริการ 3G ของตัวเองครอบคลุมทั่วประเทศ นับตั้งแต่วันแรกที่มีมีการบังคับใช้สัญญาระหว่างสองบริษัท โดยสัปดาห์ที่แล้วบอร์ดของ TOT มีมติเลือก AIS เป็นพันธมิตรร่วมใช้งานคลื่น 2100 ของ TOT เป็นเวลา 10 ปี และบอร์ดมีการออกคำสั่งให้ TOT เซ็นต์สัญญา MoU กับ AIS ให้เรียบร้อย

AIS เพิ่มเติมอีกว่า ในข้อเสนอที่ส่งให้ TOT พิจารณานั้นระบุว่า TOT จะมีรายได้มากถึง 4,500 ล้านบาทต่อปีจากการเป็นพันธมิตรครั้งนี้ โดยแยกเป็นเงินสดจำนวน 3,900 ล้านบาทที่ AIS จะจ่ายให้ทุกปี และอีก 600 ล้านบาทเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการที่ AIS ดูแลสถานีฐานของ TOT ทั้งหมด 5,320 สถานี (AIS ออกตังค์เอง TOT ไม่ต้องจ่ายประมาณนั้น)

TOT จะขายส่ง 80% ของ bandwidth 3G ในทุกๆสถานีฐานที่ TOT มีอยู่ รวมไปถึงของใหม่ที่จะตามมา ให้กับ AIS ทั้งหมด ส่วน bandwidth ที่เหลืออีก 20% นั้น TOT มีแผนจะขายให้บริษัทอื่น

 

เงื่อนไขพิเศษสำหรับคลื่น 2300

นอกจากคลื่น 2100 ของ TOT แล้ว AIS มีโอกาสสูงมากที่จะได้ใช้งานคลื่น 2300 ของ TOT ที่มี bandwidth มากถึง 60MHz โดยภายใต้ข้อตกลงในสัญญาพันธมิตรคลื่น 2100 นั้น TOT ระบุเงื่อนไขพิเศษไว้ว่า AIS จะเป็นบริษัทแรกที่มีสิทธิ์เข้าเจรจาหาก TOT มีความต้องการหาพันธมิตรมาร่วมใช้งานคลื่น 2300 (อย่างกับสัญญาซื้อขายนักเตะเลย)

 

แผนการสำหรับคลื่น 900

AIS นั้นมีความตั้งใจจะเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 อย่างจริงจัง โดยหาก AIS สามารถชนะการประมูลได้รับสัมปทาน 10MHz บนคลื่น 900 แล้ว AIS จะแบ่ง bandwidth ออกมา 5MHz เพื่อให้บริการ 2G สำหรับลูกค้าที่ใช้งานด้านโทรศัพท์ (voice service) เป็นหลักโดยไม่ได้เน้นการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งตรงนี้ AIS จะขอเช่าโครงข่าย 2G ของ TOT เพื่อให้บริการลูกค้า ส่วน bandwidth อีก 5MHz ที่เหลือจะถูกนำไปเสริมบริการ 3G ให้มีความครอบคลุมมากยิ้งขึ้น

 

ที่มา:The Nation

2015 Year in review : รวมเหตุการณ์น่าสนใจในวงการสมาร์ทโฟนประจำปี 2015

$
0
0

ในที่สุดเราก็ใกล้จะถึงเวลาสิ้นขวบปี 2015 กันแล้ว ซึ่งก็ป็นธรรมเนียมทุกปีที่เราจะทำการรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นใน 1 ปีที่ผ่านมา แล้วมองย้อนกลับไปเพื่อรำลึกถึงมันอีกครั้ง ปี 2015 นี้ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมายในโลกของสมาร์ทโฟน ทั้งเรื่องเซอร์ไพรส์ เรื่องน่าดีใจ และเรื่องเศร้า เรียกว่าครบรสกันเลยทีเดียว เรามาดูกันดีกว่ามีเหตุการณ์อะไรที่น่าสนใจบ้างในปีนี้ครับ

 

Google แยกร่างกลายเป็น Alphabet และผองเพื่อน

ถือเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์แห่งปี เมื่อ Google ออกมาประกาศปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ จัดตั้งบริษัท Alphabet ขึ้นมาเป็นบริษัทแม่ของตัวเอง และย้ายบริษัทต่างๆ ในเครือของ Google ทั้งหมดเข้าไปอยู่ภายใต้ร่มเงาของ Alphabet ด้วย โดยผู้ก่อตั้งอย่าง Larry Page ไปนั่งแท่น CEO ของ Alphabet และ Sergey Brin เป็นประธานบริษัท ส่วนฝั่ง Google ยุคใหม่ให้ Sundar Pichai เป็น CEO ดูแลแบบเต็มตัว หลังจากโชว์ผลงานไว้อย่างดีเยี่ยมตอนบริหาร Android ส่วนเรื่องเหตุผลที่ทำแบบนี้ Larry Page บอกว่า เค้าคิดว่า Google เป็นบริษัทที่ใหญ่เทอะทะเกินไปแล้ว และนั่นไม่ใช่สิ่งที่เค้ากับ Sergey ตั้งใจจะให้เป็น ถ้าจะวาดออกมาเป็นภาพแผนผังบริษัทของ Google จะเป็นแบบนี้ครับ

โครงสร้างใหม่ของบริษัทในเครือกูเกิลหลังการมาของ Alphabet (ภาพจากเพจ CNNMoney)

อย่างไรก็ตามในมุมมองของผู้ใช้ Google ก็ยังเป็น Google เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง และสิ่งที่เราคาดหวังได้จาก Google ก็ยังคงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะเปลี่ยนโลกได้อีกเหมือนเดิม

 

การมาของขนมหวานชิ้นใหม่ Android Marshmallow

หากจะพูดถึงเหตุการณ์สำคัญในแวดวง Android สิ่งที่เหล่าบรรดาสาวกรอชมทุกปีคือ “ขนมหวานชิ้นใหม่”ที่ทาง Google จะปล่อยออกมาให้สาวกได้ลิ้มลองกัน และในปีนี้มันก็คือ Android 6.0 Marshmallow นั่นเอง โดยเวอร์ชั่นใหม่ของ Android รอบนี้มาพร้อมกับฟีเจอร์มากมาย เช่น การค้นหาข้อมูลจากทุกที่ด้วย Now on Tap, ระบบประหยัดพลังงานที่ดีกว่าเดิมด้วย Dozeและ App Standbyรวมไปถึงความปลอดภัยของระบบที่สามารถควบคุมได้เองด้วย App Permissionและรองรับการสแกนลายนิ้วมือของผู้ใช้ที่มีความปลอดภัยสูงและตัดปัญหาเรื่องต้องจำรหัสผ่านออกไปได้เลย

ตอนนี้อัพเดต Android Marshmallow นั้นปล่อยออกมาให้อุปกรณ์ Nexus ทั้งหมดแล้ว ส่วนผู้ผลิตรายอื่นๆก็กำลังเตรียมจะปล่อยของกันแล้วล่ะครับ ติดตามข่าวสารการอัพเดต Android Marshmallow ได้จากเว็บเรานี่แหละ

 

Apple ทำกำไรเยอะสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท

ถ้าเราจะพูดถึงผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ทำรายได้มหาศาลในแต่ละปีคงจะไม่พูดถึง Apple ไม่ได้ ซึ่งปี 2015 ก็เป็นปีที่ยอดเยี่ยมอีกปีสำหรับ Apple โดยบริษัทสามารถทำรายได้รวมในปีนี้ไปถึง 234,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 8.4 ล้านล้านบาทเลยทีเดียวมากกว่ารายได้ปีที่แล้วถึง 28% สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ถ้านับเฉพาะกำไรก็มากถึง 53,400 ล้านดอลล่าร์หรือ 1.9 ล้านล้านบาท! คิดกันเล่นๆ Apple สามารถทำกำไรได้มากถึง 1,693 ดอลล่าร์ต่อวินาทีเลยทีเดียวเวลาเป็นเงินเป็นทองจริงๆครับแบบนี้

สำหรับพระเอกหรือสินค้าหลักของ Apple ที่ทำกำไรมหาศาลคงจะหนีไม่พ้น iPhone สมาร์ทโฟนยอดนิยมของ Apple และชาวโลก โดยรุ่นล่าสุดอย่าง iPhone 6S และ 6S Plus ที่เปิดตัวในไตรมาสสุดท้ายของปีสามารถขายไปได้ถึง 48 ล้านเครื่องแล้ว

 

การกลับมาอีกครั้งของ BlackBerry ในร่าง Android

หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในตลาดสมาร์ทโฟนกับมือถือตัวเอง BlackBerry มีการเปลี่ยนตัว CEO ของบริษัทไปหลายครั้ง หยุดผลิตสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ และปลดพนักงานจำนวนมาก จนทำให้บริษัทกลับมายืนได้อีกครั้ง และ BlackBerry ก็ตัดสินใจกลับเข้าสู่ตลาดสมาร์ทโฟนด้วยมือถือรุ่นใหม่ “BlackBerry Priv”ซึ่งเป็นมือถือรุ่นแรกของบริษัทที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android แต่ยังคงเอกลักษณ์ต่างๆของ BlackBerry เอาไว้ ทั้งการใช้คีย์บอร์ดแบบสไลด์และระบบรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ที่แน่นหนาแน่นอนว่าสามารถเรียกเสียงฮือฮาได้พอสมควร และก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากเว็บไซต์ต่างๆที่ทำการรีวิวมือถือรุ่นนี้แล้ว

ถึงแม้ Priv จะยังมีข้อเสียอยู่บ้างในเรื่องความร้อนของตัวเครื่องและราคาที่สูงพอสมควร แต่มันน่าจะสามารถทำให้ผู้คนหันมาสนใจ BlackBerry ได้อีกครั้ง และการเลือกใช้ Android เป็นซอฟต์แวร์ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่งเพราะไม่ต้องทำซอฟต์แวร์เอง หรือจะมองอีกด้านว่า BlackBerry สามารถเรียนรู้ Android ในเชิงลึกแล้วเอาไปพัฒนา BlackBerry OS ของตัวเองต่อไปก็เป็นได้

 

HTC ผู้บุกเบิกมือถือ Android เป็นรายแรก...ก้าวถึงจุดตกต่ำ

HTC ชื่อนี้อยู่คู่กับ Android มาช้านาน เพราะเป็นผู้ผลิตรายแรกที่พัฒนามือถือ Android เครื่องแรกออกมาในชื่อ “HTC Dream (หรือ T-mobile G1)”นับเป็นการลืมตาออกมาดูโลกครั้งแรกของเจ้าหุ่นเขียวและเติบโตมาเรื่อยๆหลังจากนั้น สำหรับ HTC ในปี 2015 นี้เริ่มต้นได้อย่างย่ำแย่ทั้งที่เป็นช่วงเวลาที่ HTC จะต้องสร้างผลงานให้ดีที่สุด การเปิดตัว HTC One M9สมาร์ทโฟนเรือธงประจำปี 2015 ของบริษัทและวางจำหน่ายไม่สามารถสร้างรายได้อย่างที่หวัง เพราะตัวมือถือนั้นเหมือนเดิมจนเกินไปทั้งวัสดุและงานออกแบบ ทั้งที่ทุกปี HTC จะมีนวัตกรรมใหม่ๆมานำเสนออยู่เสมอ เมื่อยอดขายตกต่ำ ราคาหุ้นก็ตกต่ำ จนเมื่อกลางปีทีมบริหารของ HTC ถึงกับต้องก้มหัวขอโทษผู้ถือหุ้นในงานประชุมประจำปี และสัญญาว่าจะสร้าง “ผลิตภัณฑ์ Hero”มากอบกู้สถานการณ์บริษัทในช่วงปลายปี

หลังจากที่มีแต่ข่าวร้ายมาตลอดปีทั้งราคาหุ้นตกลงเรื่อยๆ รายได้ลดลงอย่างมาก ปลดพนักงานบริษัท และอาจโดนซื้อโดยบริษัทร่วมชาติอย่าง ASUS พอเข้าสู่ปลายปี HTC ก็ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ Hero ที่เคยบอกไว้ มันคือ HTC One A9ที่ได้รับคำวิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความเหมือนกับ Apple iPhone โดยหลายฝ่ายคิดว่า HTC play safe ด้วยการละทิ้งนวัตกรรมและหันมาทำมือถือที่ตลาดต้องการนั่นคือ “iPhone ที่เป็น Android”นั่นเอง อย่างไรก็ตามไม่ว่า HTC จะคิดถูกหรือผิด แต่ HTC One A9 ก็ทำให้สถานการณ์ของบริษัทกระเตื้องขึ้นมาได้บ้าง เมื่อมันสามารถทำรายได้ในเดือนพฤศจิกายนหลังเปิดตัวได้พอสมควร และมันก็น่าสนใจที่จะรอชมกันต่อไปในปีหน้าว่ามือถือของ HTC จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด เพราะมันใกล้จะครบปีที่ HTC ต้องปล่อยมือถือเรือธงจริงๆออกมาแล้ว

 

ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4G เต็มตัว

ถ้าจะรวบรวมเหตุการณ์ประจำปีที่น่าสนใจในวงการมือถือของประเทศไทย เหตุการณ์หนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ “การประมูลคลื่น 4G”ที่เรารอกันมาอย่างยาวนาน หลังจากที่โดนสกัดดาวรุ่งไปหลายครั้ง ในที่สุดมันก็เกิดขึ้นจนได้ โดยก่อนการประมูลหลายฝ่ายกลัวว่า จะเกิดการฮั้วประมูลเหมือนเมื่อครั้งประมูลคลื่น 2100 ไปทำ 3G หรือเปล่า?วันนี้ก็คงจะได้คำตอบกันไปแล้วว่า ฮั้วหรือไม่ฮั้ว ซึ่งหลังจากมีการขับเคี่ยวประมูลกันอย่างยาวนานถึง 33 ชั่วโมง ผู้ที่ชนะการประมูล 4G ในนัดแรกซึ่งเป็นคลื่น 1800 ก็คือ AIS และ TrueMoveที่ประมูลรวมกันไปถึง 80,778 ล้านบาท มากกว่าตอนประมูล 3G ถึง 2 เท่า

และสำหรับการประมูลนัดที่สองซึ่งเป็นการประมูลคลื่น 900 นั้นเพิ่งจะเสร็จสิ้นกันไปหมาดๆ โดยผู้ชนะการประมูลคือ JAS และ TrueMoveที่ประมูลรวมกันไปเป็นเงินมหาศาลถึง 151,952 ล้านบาท คุณพระ!นอกจากนั้นการประมูลยังใช้เวลาขับเคี่ยวกันนานถึง 65 ชั่วโมง 55 นาที นี่มันเกือบ 3 วันเลยนะ! ซึ่งหลังจบการประมูล JAS ก็กลายเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรายใหม่ของประเทศไทยทันที พร้อมประกาศว่าจะนำคลื่น 900 ที่ได้ไปให้บริการ 2G และ 4G เตรียมเปิดตัวปีหน้านี้เลย ส่วน TrueMove ก็กลายเป็นผู้ให้บริการที่มีคลื่นและ bandwidth มากที่สุดแซงหน้า DTAC ไปเรียบร้อย และ TrueMove ก็จะให้บริการ 2G และ 4G บนคลื่น 900 เช่นกัน เห็นผู้ให้บริการต่อสู้แข่งขันกันขนาดนี้ คนใช้อย่างเราก็ได้ประโยชน์ไปเต็มๆครับ

 

เมื่อเห็นรายชื่อผู้ชนะทั้ง 2 ครั้งไม่มี DTAC อยู่ในนั้น คำถามจึงมีตามมาว่า DTAC จะไม่มีคลื่นทำ 4G เหรอ?ซึ่งจริงๆแล้ว DTAC มีคลื่น 1800 ของตัวเองอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว และก็เริ่มเปิดให้บริการ 4G ไปแล้วเช่นกัน โดยปัจจุบัน 3 ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น AIS, TrueMove และ DTAC ต่างก็เดินหน้าเปิดให้บริการ 4G กันครบแล้วเป็นที่เรียบร้อย นี่จึงเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของไทยอีกครั้งว่า “ปี 2015 คือปีที่ประเทศไทยก้าวสู่ยุค 4G อย่างเต็มตัว”ถึงแม้จะมาเริ่มกันปลายปีก็เถอะ 

 

นี่ก็เป็นเรื่องราวที่คัดมาส่วนหนึ่งจากอีกหลายร้อยเรื่องที่เกิดขึ้นในปีนี้ เพื่อนๆสมาชิกเห็นว่ามีเรื่องไหนที่น่าจะพูดถึงอีกก็มาแชร์กันได้นะครับ ส่วนปีหน้าจะเป็นอย่างไรนั้น มีการคาดการณ์ว่า สมาร์ทโฟนกำลังจะถึงจุดอิ่มตัว และอุปกรณ์ประเภทอื่นจะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่า เราจะมีอะไรมาให้พูดถึงกันอีกบ้างนะครับ สวัสดี

 

ข้อมูลบางส่วนจาก:

http://www.telegraph.co.uk/technology/apple/11959016/Apple-reports-bigge...

http://www.foxnews.com/tech/2015/11/19/blackberry-making-comeback-with-k...

 

อัพเดตการประมูล 4G ในประเทศไทย จะมีขึ้นเมื่อไหร่? จะเกิดขึ้นได้หรือไม่?

$
0
0

 

การประมูล 4Gคลื่น 1800MHz และ 900MHz ในประเทศไทย หลายคนน่าจะพอทราบกันบ้างแล้วว่าเตรียมจะจัดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ โดยคลื่น 1800MHzจะถูกประมูลก่อนในวันที่ 11 พ.ย.นี้ส่วนคลื่น 900MHzที่เอไอเอสกำลังจะหมดสัมปทานในวันที่ 30 ก.ย.เตรียมจะถูกนำไปประมูลในวันที่ 15 ธ.ค.ต่อไป แต่จากประวัติศาสตร์ของเรา การประมูลคลื่นความถี่แต่ละครั้งไม่ได้เกิดขึ้นมาได้ง่ายๆ วันนี้เรามาอัพเดทกันเพิ่มเติมหน่อยดีกว่าว่าสถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างแล้ว

 

คลื่น 900MHz ยังง่อนแง่น มีสิทธิ์ถูกยกการประมูลอยู่

ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ก.ย. เราเพิ่งได้เห็นทางสหภาพแรงงาน TOT ประกาศเตรียมออกมายื่นฟ้อง กสทช.หากมีการประมูลคลื่น 900 MHz จริง โดยอ้างว่าจะทำให้ TOT เสียหายเป็นหมื่นล้าน เนื่องจากทรัพย์สินที่ได้จากเอไอเอสหลังหมดสัมปทานจะด้อยค่าลงไปทันทีนั่นเอง

 

คลื่น 1800MHz ยังดูไม่มีปัญหา ลุ้นดีแทคคืนคลื่นสำเร็จ

ยังไม่มีข่าวน่าห่วงว่าจะถูกล้มประมูลในช่วงนี้ แต่ก็ยังวางใจไม่ได้เพราะในอดีตก็มีการยื่นฟ้อง หยุดการประมูลก่อนหน้าวันจริงเพียงวันเดียวมาแล้ว ก็หวังว่าสามารถจัดการประมูลได้อย่างไม่มีปัญหาเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ

โดยคลื่น 1800MHz นี้ ถือว่าเป็นคลื่นมาตรฐานในการทำ 4G โทรศัพท์โดยมากจะรองรับคลื่นนี้เกือบทั้งหมด ประเด็นที่ต้องลุ้นกันคือทางกสทช.จะนำเอาคลื่นที่ Dtac ถือครองอยู่มาร่วมประมูลด้วยหรือไม่ เพราะสถานการณ์ในปัจจุบันคือจะมีการประมูลคลื่นทั้งหมด 25MHz คิดเป็น 2 ใบอนุญาต ซึ่งต้องแบ่งออกเป็น 12.5 MHz และ 12.5MHz

แต่ปัญหาคือคลื่น 4G เวลาเอามาใช้งาน มันจะคิดเป็นบล็อค และต้องใช้บล็อคละ 5MHz หากว่าประมูลมาที่จำนวน 12.5MHz คนที่ได้ไปก็จะงงๆหน่อยว่าจะเอา 2.5MHz ที่เหลืออยู่ไปทำอะไรดี

 

ทีนี้ คลื่น 1800MHz เนี่ย จริงๆมันเป็นช่วงความถี่ที่ค่อนข้างยาว ไม่ได้มีแค่ 25MHz ที่ทางกสทช.จะนำเอามาประมูล ซึ่งส่วนที่เหลืออยู่ส่วนนึงเป็นทาง Dtac ที่ถือเอาไว้อยู่แต่ก็ไม่ได้ใช้งานอะไร จึงได้ทำเรื่องยื่นขอคืนคลื่นกลับไป 5MHz ให้สามารถนำเอาไปประมูลได้ครบ 30MHz และใช้งานได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

แต่มันก็ไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะต้องมีการรีฟาร์ม (refarm) ย้ายคลื่นความถี่ที่ Dtac ใช้อยู่จากที่กระจัดกระจาย ให้กลับมาเป็นก้อนๆ และนำไปใช้งานได้ และนั่นก็ต้องให้ทางกสทช. และ CAT ซึ่งเป็นคู่สัญญากับ Dtac เป็นคนอนุมัติยินยอมก่อนเท่านั้น

โดยปัจจุบันทางดีแทคได้แจ้งความประสงค์ไปยังกสทช.และได้รับการอนุมัติแล้ว แต่ยังมีเรื่องเอกสารและการดำเนินการอีกหลายๆที่ยังต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนการประมูล หากลุล่วงไปได้ด้วยดี เหล่าเครือข่ายที่ประมูลได้ไปก็จะสามารถนำเอาความถี่ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ และมูลค่าการประมูลก็จะสูงขึ้น เอาเงินเข้าคลังได้มากขึ้นกว่าเดิมครับ

ตารางการถือครองสัมปทานคลื่นความถี่ของแต่ละเครือข่ายในประเทศ ทำโดย Huawei เอามาฝากเผื่อใครอยากทราบ

 

สรุปว่าประมูลคลื่น 4G น่าจะมาแน่แต่ไม่รู้กี่มากน้อย

โดยสรุปแล้วการประมูล 4G น่าจะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างแน่นอน หลังจากที่เห็นทั้งกสทช. และท่านรองนายกประจิน ออกมาหนุนหลังกันอย่างเต็มที่โดยเฉพาะคลื่น 1800MHz ที่มีการสนับสนุนให้มีการนำคลื่นของ Dtac ให้เข้าไปรวมเป็น 30MHz ด้วย ส่วนคลื่น 900MHz จะยังต้องมีลุ้นอีกเล็กน้อย

 

ใครจะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้บ้าง?

ทั้ง AIS DTAC และ Truemove มาตามนัด ร่วมลงประมูลกันครบทั้งสามค่าย แต่ว่าค่ายที่ต้องการกว่าใครคงจะไม่พ้น AIS ที่ทุกวันนี้ แบนด์วิธตามหัวเมืองใหญ่ใกล้จะเต็มอยู่แล้ว จากจำนวนผู้ใช้งานที่เยอะที่สุด (ประมาณ 40 ล้านเลขหมาย) แต่ว่ามีความถี่ในมือน้อยที่สุด (15+MHz) ส่วนค่ายที่ต้องการน้อยที่สุดก็คือ Truemove ที่วันนี้มีคลื่นความถี่ในมือมากที่สุดนั่นเอง (30+MHz) แว่วๆว่าอาจจะมีการดึงเอา JAS หรือที่รู้จักกันในนาม 3BB มาร่วมประมูลด้วย แต่ก็ยังไม่มีความแน่นอนในเรื่องนี้ครับ

 

Dtac เตรียมเริ่มใช้คลื่น 1800MHz ทำ 4G ก่อนประมูล

มาแบบเซอร์ไพรส์ๆ แถลงกันไปเมื่อเช้านี้ โดยทาง Dtac เตรียมเอาคลื่น 1800MHz  ที่ยังเหลืออยู่ส่วนนึง (10MHz) มาแปลงจาก 2G เป็น 4G ให้บริการกันไปก่อนการประมูล โดยปัจจุบันกสทช.อนุมัติให้ดำเนินการได้แล้ว แต่ว่ายังต้องผ่านขั้นตอนทางเอกสารอีกเล็กน้อย คาดว่ากว่าจะเริ่มได้จริงจะเป็นช่วงสิ้นเดือนตุลาฯ โดยจะเริ่มต้นที่กรุงเทพฯก่อนและหากประมูลได้ก็เตรียมเอาคลื่นมาเชื่อมต่อกันได้เลย

เพิ่มเติมสำหรับคนใช้ Dtac ที่แม้ว่าหลายๆคนจะบ่นๆกันเรื่องคุณภาพสัญญาณ แต่จากตัวเลขเสาที่แถลงในงานก็จะมีพัฒนาการขึ้นมาเยอะเหมือนกัน โดยปัจจุบัน Dtac มีเสาสัญญาณราวๆ 17,000 ต้น (AIS มีราวๆ 20,000 กว่าๆ) และเตรียมจะขยายเพิ่มอีกเท่าตัวให้เสร็จสิ้นในปี 2017 และสัญญาว่าจะมี 4G ใช้แบบครอบคลุมทั่วประเทศ จากที่ปัจจุบันนี้มี 3G ที่ครอบคลุมแล้ว...ก็ว่ากันไปนะ เอ้า ผู้ใช้งาน Dtac คิดว่าไง Tongue


เร็วกว่าได้เปรียบ!? Dtac ชิงเปิด 4G บนคลื่น 1800MHz ก่อนการประมูล

$
0
0

เมื่อวานนี้ทาง Dtac ได้มีการประกาศเปิด 4G บนคลื่น 1800MHz ก่อนการประมูลที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 พ.ย. นี้ ซึ่งจะทำให้ Dtac เป็นเครือข่ายที่มีช่องสัญญาน 4G รวม 15MHz เพียงพอแก่การให้บริการ 4G ได้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งช่องสัญญานที่เปิดนี้เป็นการนำเอาสัญญาสัมปทานเดิมที่ Dtac มีอยู่มาทำ ไม่เกี่ยวกับที่กำลังจะประมูลแต่อย่างใด และทาง Dtac ก็เตรียมที่จะเข้าร่วมประมูลเอาช่องสัญญานมาเพิ่มอีกด้วย

ประมูลเพิ่ม เพราะสัมปทานที่ใช้อยู่จะหมดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

บางคนอาจจะงงว่าทำไมดีแทคต้องประมูลคลื่น 1800MHz ในวันที่ 11 นี้อีก ในเมื่อก็มีคลื่นตัวเองให้ใช้อยู่แล้ว คำตอบก็คือ คลื่นที่ใช้อยู่นี้เป็นสัมปทานเก่าที่กำลังจะหมดอายุในเดือนกันยายน 2018 ส่วนใบอนุญาตที่กำลังจะประมูลนี้มีอายุ 18 ปี ใช้งานได้ยาวนานกว่านั่นเอง

 

ช่องสัญญาน 4G รวม 15MHz มาจาก 2100MHz และ 1800MHz

บางคนอาจจะสงสัยว่ามีช่องความถี่กว้างขนาดนี้ ทำไมไม่ทำ LTE-A ไปเลย ซึ่งตามความเข้าใจของผม (ถ้าผิดขอเชิญชี้แนะ) คือ LTE-A ต้องการช่องสัญญานไม่น้อยกว่า 20MHz และต้องเป็นช่วงสัญญานที่ติดกันด้วยซึ่งช่องสัญญาน 15MHz ที่ทาง dtac มีนี้เป็นการนำเอาจาก 2100MHz มา 5MHz และ 1800MHz มาอีก 10MHz รวมกัน ทำให้ไม่สามารถทำได้นั่นเอง

[updated 4/11/58] เรื่อง LTE-A ทางคุณ 9Champ มาช่วยชี้แจงว่า

จริงๆ แล้ว LTE-A มันสามารถ Carrier Aggregation หรือ เอาคลื่นความถี่ 2 ย่านมารวมกันครับ
การที่ดีแทค ทำ LTE 2100MHz จำนวน 5MHz และ 1800MHz จำนวน 10MHz สามารถทำ LTE-A ได้ครับ
แต่ที่ดีแทคไม่ทำ LTE-A ผมไม่ทราบเหตุผล คงต้องถามดีแทคครับว่าทำไมไม่ทำ

เรื่องนี้ภายในงานมีคนถามอยู่เหมือนกัน แต่ทาง CTO ของดีแทคไม่ได้ให้รายละเอียดมากมายนัก บอกแค่ว่าติดปัญหาด้าน compatibility อยู่ครับ [/updated]

และที่หลายๆคนกังวลคือจะมีปัญหาแบบตอน Trinet ที่กระเด้งไปกระเด้งมา จนภาพรวมเน็ตป่วยลงกว่าเดิมรึเปล่า เพราะนี่กลายเป็นต้องกระโดดเพิ่มไปอีกหนึ่งคลื่นความถี่อีก ทางดีแทคก็บอกว่าไม่มีปัญหาาาาาา...นะ

 

4G 1800MHz เครื่องไหนใช้ 4G ได้ก็รองรับหมด

ตามข้อมูลที่ทาง Dtac ให้มาคือคลื่น 1800MHz เป็นคลื่นมาตรฐานของการทำ 4G อยู่แล้ว โทรศัพท์ที่รองรับ 4G แทบทุกเครื่อง หรือที่จำหน่ายในไทยจะรองรับหมดอยู่แล้ว ถ้าหากมีปัญหาใช้การไม่ได้อาจจะติดที่เรื่องซิม หรือยังไม่ได้เปิดใช้บริการมากกว่า 

 

Dtac มีจำนวนผู้ใช้ 4G อยู่จริงราว 1.8 ล้านราย และยังขยาย 3G network อยู่

เห็นดีแทคโปรโมท 4G เยอะๆขนาดนี้ ปัจจุบันยังมีผู้ใช้จริงอยู่ไม่ถึง 10% ของผู้ใช้บริการทั้งหมดในเครือข่ายที่มีอยู่ราว 25 ล้านราย โดยผู้ใช้มีเครื่องที่รองรับ 4G อยู่ราว 3.5 ล้านเครื่อง หรือเรียกว่าเครื่องรองรับแต่ยังไม่ใช้บริการอยู่อีก 1.7 ล้านรายนั่นแหละ แต่ถ้าใครคิดเหมือนผมว่า ทำไมรีบทำ 4G ก่อน 3G ยังไม่ดีเลย อันนี้ผมถามให้แล้ว ซึ่งทาง Dtac บอกว่าเค้าก็ยังวางระบบ 3G อยู่เรื่อยๆเช่นเดิม ยังไม่ทิ้งไปไหนนะ 

สถิติน่าสนใจของผู้ใช้เน็ต 3G/4G

  • 3G ใช้เน็ตเฉลี่ย 2.7GB ต่อเดือน
  • 4G ใช้เน็ตเฉลี่ย 4GB ต่อเดือน

(แล้วเพื่อนๆใช้เน็ตกันเกินค่าเฉลี่ยมะ Tongue)

 

ทำคลื่น 1800MHz แล้ว Speed Test ความเร็วอาจจะไม่เพิ่มอยู่ดี

อันนี้เห็นทางคุณประเทศ CTO ของดีแทค มีการย้ำอยู่หลายครั้งว่า Speed Test แล้วความเร็วอาจจะไม่เพิ่ม หรือแรงหวือหวาอะไรมาก แต่อยากให้วัดที่เรื่องของประสบการณ์ใช้งานที่จะดีขึ้นกว่าเดิม เข้าเว็บ เล่นเฟซ ดูยูทูปได้ลื่นๆขึ้น ไม่เอาแต่หมุนๆนะ 

 

เค้าก็ว่ามาแบบนี้นะ ทั้งเรื่องสัญญานวิ่งไปมาหลายคลื่นจะไม่เป็นไร เน็ตจะดีขึ้นแต่สปีดเทสอาจจะไม่ดีขึ้น และอื่นๆตามด้านบน ผมก็แค่มาเล่าต่อ เอาว่าฝากเพื่อนๆที่ใช้ Dtac อยู่เหมือนกันกับผม ลองทดสอบในช่วงหลังจากนี้กันอีกสักเดือนนึงละกันว่ามันดีขึ้นรึเปล่า เล่นได้เนียนกว่าเดิมไม่มีสะดุดมั้ย หรือยังมีปัญหา Call Drop, เน็ตไม่วิ่ง, หรือสูบแบตเหมือนเดิมรึเปล่า ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอย่างไร ยังไงมาบอกกันได้...หาเพื่อนอยู่ 555555

ประยุทธ์ สั่งเดินหน้าประมูล 4G ใครขวางผิดกฎหมาย

$
0
0

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เพิ่งจะมีข่าวถึงเรื่องการประมูล 4G คลื่น 900MHz ว่าจะถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงเดือนธันวาเนื่องจากกลัวการประมูลที่ไม่โปร่งใส แต่มาวันนี้ ทางด้าน นายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกมาแถลงข่าวว่า การประมูล 4G คลื่น 900MHz นั้นจะต้องมีต่อไป ห้ามใครขัดขวางเป็นอันขาด จะถือว่าผิดกฎหมาย

แนวนโยบายรัฐบาลก็ประมูลไป จะตัดสินแพ้ชนะก็ไม่มีปัญหากับการประมูล ถ้าอยากฟ้องก็ทำไปเป็นสิทธิของเขา แต่จะให้ผมประมูล...ผมประมูลแน่ ใครขัดขวางถือว่าผิดกฎหมาย ถ้าฟ้องก็ใช้กฎหมาย อย่าใช้กฎหมู่กับผม

พร้อมทั้งยังบอกอีกว่าจะไม่ใช้คำสั่งหรือกฎหมาย ในการแก้ปัญหาการประมูลคลื่นครั้งนี้ด้วย

ถ้าให้ผมออกคำสั่งที่เกินไป เพื่อใช้บังคับทุกอย่าง ผมไม่ออกหรอก เรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องความขัดแย้งในองค์กร

 นอกจากนี้ยังพูดถึงองค์กรต่างๆ ว่าถ้าคิดจะฟ้องรัฐบาลก็ควรมาจะร่วมกันช่วยแก้ปัญหาแทนดีกว่า เพราะกำไรก็ต้องถูกแบ่งเข้ารัฐอยู่ดี ไม่ใช่ว่าจะถูกนำไปบริหารภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว และก็ยังบอกอีกว่า การที่รัฐประมูล 4G ก็เป็นการทำประโยชน์ให้กับประชาชนเพราะจะทำให้มีค่าบริการที่ลดลง ไม่ใช่ว่าจะเอาเงินเข้ารัฐอย่างเดียวเท่านั้น

 

ที่มา: ryt9

จบการประมูล 4G 1800MHz ราคาพุ่ง 8 หมื่นล้าน - AIS และ TrueMove เป็นผู้ชนะ

$
0
0

ประมูลกันแบบมาราธอนข้ามวันข้ามคืนสำหรับ 4G คลื่น 1800MHz ใช้เวลาไปร่วม 33ชม. ที่ไม่มีใครยอมใคร กดประมูลจนราคาขึ้นไปเกินที่คาดไว้ตอนแรก 39,784 ล้านบาทไปเป็นเท่าตัว จนจะได้ผู้ชนะ 2 ราย ได้แก่ TrueMove ที่ได้ช่วงคลื่นแรกไป และ AIS ได้รับช่วงที่สอง รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่กว้างเจ้าละ 15MHz จำนวน 18 ปี รวมเงินประมูลนำส่งเข้ารัฐทั้งหมด 80,778 ล้านบาท!!

ข้อมูลที่น่าสนใจจากการประมูล 4G 1800MHz

  • เริ่มการประมูลตั้งแต่ 10 โมงเช้า วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 จบวันที่ 12 เวลา 19.25น.

  • เคาะประมูลเป็นจำนวนทั้งหมด 86ครั้ง

  • มูลค่าของ lot 1 (ความถี่ 1710 - 1725 MHz / 1805 - 1820 MHz) 39,792 ล้านบาท โดย TrueMove

  • มูลค่าของ lot 2 (ความถี่ 1725 - 1740 MHz / 1820 - 1835 MHz) 40,986 ล้านบาท โดย AIS

  • ผู้ประมูลที่เบียดมาตลอดทางจนราคาพุ่งขึ้นสูงขนาดนี้ได้แก่ JAS ที่ทำราคาสุดท้าย 38,996 ล้านบาท

  • DTAC ถอดใจถอนตัวไปตั้งแต่คืนวันที่ 11 พฤศจิกายน ประมูลราคาแค่ 17,504 ล้านบาท เท่านั้น
  • จำนวนรายได้แรกเริ่มที่ทางกสทช.คาดว่าจะได้ต่อ 1 ใบอนุญาต 19,892 ล้านบาท

  • รายได้เกินจากที่คาดการเอาไว้ 40,994 ล้านบาท!!

  • มูลค่าของใบอนุญาต 2 คลื่นความถี่ (รวม 60MHz) สร้างรายได้ให้รัฐมากกว่าการประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง (280MHz) ที่มีมูลค่ารวม 50,862 ล้านบาทเท่านั้น

  • มูลค่าของใบอนุญาตคลื่น 1800MHz สูงกว่าเมื่อคราวประมูลคลื่น 2100MHz ถึง 39,153 ล้านบาท โดย

    • AIS เสนอราคา 14,625 ล้านบาท

    • DTAC เสนอราคา 13,500 ล้านบาท

    • TRUE เสนอราคา 13,500 ล้านบาท

    • รวมคลื่น 2100MHz สร้างรายได้เข้ารัฐเพียง 41,625 ล้านบาท

  • คลื่น 2100MHz มีมูลค่าคิดเป็น 925 ล้านบาทต่อ 1MHz

  • คลื่น 1800MHz มีมูลค่าคิดเป็น 2,692.6 ล้านบาทต่อ 1MHz


หลายๆคนเห็นแล้วมีหวั่นว่าค่าบริการเตรียมพุ่งขึ้นอีกหลังเปิดให้บริการ 4G หรือไม่ เพราะราคาประมูลขึ้นไปสูงเกินคาดหมายไปมาก เบื้องต้นทาง กทค. มีกำหนดไว้วาต้องไม่เกินค่าบริการ 3G ในปัจจุบัน และการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ก็ยังสูงอยู่ น่าจะไม่สามารถดันราคาขึ้นไปได้มาก ยังไงก็เตรียมรออ่านบทวิเคราะห์ได้ใน blog ถัดไปครับ

ประมูลคลื่น 900MHz พุ่งแสนล้าน - แต่ละค่ายเอาเงินที่ไหนมาจ่าย? ทำไมราคาถึงขึ้นไปสูงขนาดนี้?

$
0
0

จนถึงตอนนี้การประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz ก็ยังไม่จบลง ราคารวมของทั้งสองใบอนุญาตเกินแสนล้านไปเรียบร้อยแล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงเมื่อไหร่ ซึ่งหลายๆคนก็สงสัยกันว่า ราคานี้เป็นราคาที่เหมาะสมรึเปล่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาพุ่งขึ้นไปสูงขนาดนี้ได้ จากที่ลองๆไปรวบรวมมา จึงขอเอามาเล่าให้ฟังกันเอาไปคิดต่อกันแบบพอสังเขปดังนี้

ปล. ภาพประกอบจากเพจ Mao-Investor นะครับ ไปติดตามกันได้

มาดูสถานะทางการเงินของแต่ละบริษัทกันสักหน่อย ว่าอดีต-ปัจจุบันมีรายได้และกำไรกันขนาดไหน

  • เงินทองมีล้นเหลือ รายได้และกำไรมีจ่ายแบบสบายๆ สำหรับทั้งคลื่น 1800MHz และ 2100MHz

  • จากข้อมูลที่ได้มา AIS เคยจ่ายค่าสัมปทานให้ TOT ช่วงก่อนที่จะมีการประมูลใบอนุญาต ปีนึงหลัก 1-2 หมื่นล้านบาทอยู่แล้ว (ลองดูช่วงก่อนปี 2013)เงินค่าประมูลไม่น่าจะสะทกสะท้านเท่าไหร่ แต่กำไรก็น่าจะหดหายไปนิดหน่อย

  • สัมปทานคลื่น 1800MHz ของ AIS ได้มาราคา 40986 ล้านบาท มีอายุ 18 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 2,277 ล้านบาท
  • สัมปทานคลื่น 2100MHz ของ AIS ได้มาราคา 14,625 ล้านบาท มีอายุ 15 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 975 ล้านบาท
  • รวมกันยังไม่ถึงครึ่งของค่าสัมปทานที่จ่ายออกไปในอดีตเลย

 

  • เงินทองเจ้านี้ก็ไม่น้อยเหมือนกัน แม้ว่าจะไม่ได้เยอะเหมือนทาง AIS ก็ตามที

  • ค่าใบอนุญาตที่จะโดนแม้ว่าไม่น้อย แต่ก็ไม่น่าห่วงมาก แค่กำไรน่าจะหดลงไปเหลือใกล้ๆ เมื่อคราวที่ยังโดนค่าสัมปทานอยู่

  • สัมปทานคลื่น 2100MHz ของ Dtac ได้มาราคา 13,500 ล้านบาท มีอายุ 15 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 900 ล้านบาท

 

  • มาถึงค่ายนี้ ทำเอาหลายๆ คนงงว่าเอาจริงดิ ไหวเหรอ แถมคลื่นในมือก็ไม่ได้ขาดด้วยนะ

  • โดนรวม 2 ใบอนุญาตเข้าไปนี่ ต้นทุนเฉลี่ยต่อปีน่าจะทะลุ 5 พันล้านบาทอยู่นะ

  • แต่เรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาสำหรับค่ายนี้มาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว ความสามารถในการหาเงินมาจับจ่ายใช้สอยสูงมาก

  • สัมปทานคลื่น 1800MHz ของ true ได้มาราคา 39,792 ล้านบาท มีอายุ 18 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 2210.67 ล้านบาท
  • สัมปทานคลื่น 2100MHz ของ true ได้มาราคา 13,500 ล้านบาท มีอายุ 15 ปี คิดเฉลี่ยเป็นต้นทุนต่อปี 900 ล้านบาท

 

  • ส่วนเจ้าน้องใหม่นี่ แม้ว่าสถานะการเงินจะดูดี แต่ว่าค่าใบอนุญาตนี่ลอยเหนือ MarketCap ของตัวเองไปเรียบร้อยแล้วนะ

  • มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า JAS มีแบคหนุนหลังอยู่หรือไม่ เพราะถ้าเป็นตัวเค้าเองไม่น่าจะพร้อมขนาดนั้น

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Jitta.comเว็บที่ทำให้การลงทุนเป็นเรื่องง่ายยยยขึ้นมากๆ มีข้อมูลย้อนหลังของแต่ละบริษัทให้ดูกันเพียบ และมีแนะนำหุ้นที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนระยะยาว แนะนำมากสำหรับเหล่า VI เลยครับ แม้แต่คุณป้าแมรี่ อดีตลูกสะใภ้ของ Warren Buffett ยังออกมาชื่นชม และที่สำคัญคืองานนี้เป็นของคนไทยที่ไปดังไกลถึงอเมริกาเลย อยากใช้บอกได้นะ เดี๋ยวส่ง invite ไปให้ครับ จะได้ลองแบบ Pro กันเลย ^^ (ต้องใช้ email นะ จะแปะใน comment หรือส่งเมวมาก็ได้ครับ)

ปิดการแจก invite ไว้ก่อนนะครับ หมดไปเรียบร้อย ใครที่ได้ไปฝากกดใช้ด้วยครับ ไม่งั้นผมจะไม่ได้กลับมาแจกคนอื่นต่อไม่ได้ครับ ขอบคุณครับ



ทำไมราคาคลื่น 900MHz ถึงแพง?

จากที่ได้รวบรวมมา

 

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคลื่น 900MHz

  • คลื่น 900MHz คุ้มค่าการลงทุน มีค่าใช้จ่ายในการลงเสาน้อยกว่า คลื่น 1800MHz หรือ 2100MHz มาก เหมาะกับการขยายเครือข่ายในต่างจังหวัด

  • ราคาเฉลี่ยต่อหน่วยทั่วโลก คลื่น 900MHz แพงกว่า 1800MHz ถึง 2 เท่า

  • สถิติโลกของของคลื่น 900MHz อยู่ที่ 68,000 ล้านบาท

  • กสทช.มีแผนเรียกคืนคลื่น 850MHz ไปใช้ควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูง และใช้เมื่อเกิดภัยพิบัติ ซึ่งทำให้คลื่น 900MHz อาจกลายเป็นคลื่นความถี่ต่ำเดียวที่หลงเหลืออยู่
  • การประมูลครั้งนี้มีกำหนดการชำระเงินที่ค่อนข้างสะดวกกว่าเมื่อคราวประมูลคลื่น 1800MHz ที่ต้องให้จ่ายเงิน 50% ทันที โดยเงื่อนไขการชำระเงินประมูลใน 3 ปีแรกต้องจ่ายเพียง 16,080 ล้านบาทเท่านั้น แล้วจึงชำระส่วนที่เหลือในปีที่ 4 ทำให้มีเวลาหาเงินมาชำระเยอะกว่า

อันนี้ทาง ไทยรัฐ เคยมีทำเอาไว้

 

เหตุผลของแต่ละเจ้าที่สู้แบบไม่ถอย

  • เป็นเจ้าเดียวที่ยังไม่มีคลื่นความถี่ต่ำ (มี 1800MHz และ 2100MHz ในมือแล้ว)

  • เค้าว่าไง เราก็ว่าตาม เงินเท่าไหร่เรามี

 

  • คลื่น 1800MHz และ 850MHz ในมือกำลังจะหมดในอีก 3 ปีข้างหน้า

  • คลื่น 2100MHz ที่ประมูลได้มาก่อนหน้าเพียงใบเดียวไม่เพียงพอกับการให้บริการ หรือต้องลงทุนสูงมากเพื่อให้รองรับได้

  • ขออนุมัติเงินจากยานแม่มาเรียบร้อย

  • เรียกขวัญและกำลังใจของพนักงานและผู้ใช้บริการกลับมา

  • การันตีให้นักลงทุน ว่าสามารถแข่งขันในตลาดต่อไปได้

  • ราคาหุ้นตกต่ำสุดจนแทบจะลงไปแตะราคา IPO แล้ว

ฝากบทความเก่าเอาไว้หน่อย สำหรับอ่านประกอบ

 

 

  • กีดกันคู่แข่ง (JAS) ไม่ให้เข้ามาได้

  • กีดกันคู่แข่ง (dtac) ไม่ให้ดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้

  • การไม่มีคู่แข่งเป็นลาภอันประเสริฐ

  • มีความสามารถในการหาแหล่งเงินทุนได้มากมายมหาศาล

 

  • หากพลาดครั้งนี้ ต้องรออีกอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะมีโอกาสเข้าธุรกิจได้อีกครั้ง

  • อีก 3 ปีข้างหน้า ยังไม่มีใครบอกได้ว่าจะมีการประมูลเกิดขึ้นหรือเปล่า เลยต้องสู้สุดใจ



ส่วนใครกำลังอยากรู้ว่า 4G จะได้ใช้เมื่อไหร่ มีจำนวนสัญญานที่ครอบคลุมขนาดไหน ลองกลับไปดูบทความเก่าที่เคยเขียนเอาไว้ได้ที่นี่เลยครับ

 

ขอเชิญเพื่อนๆ มาร่วมอภิปราย หรือแชร์ข้อมูลกันเพิ่มเติมได้นะครับ เห็นต่างส่วนไหนก็แย้งเพิ่มมาได้เลย และมาโหวตกันเล่นๆว่า ใครจะได้คลื่นไปครองกัน Laughing out loud

จบการประมูลคลื่น 900MHz ราคาพุ่ง 1.5 แสนล้าน พลิกล็อค JAS และ TRUE เป็นผู้ชนะ!!

$
0
0

จบการประมูลคลื่นความถี่ 900MHz ที่ยังคงรักษาความยาวนานได้เหมือนคราวคลื่น 1800MHz ลากยาวข้ามวันข้ามคืนรวม 4 วัน 3 คืนเคาะไปเกือบ 2 ร้อยรอบ โดยในครั้งนี้ ไม่มีใครยอมใครมาจนสุดทาง กดราคากันรัวๆ ตั้งแต่เริ่มต้น จนราคาพุ่งขึ้นเหนือราคาประมูลคลื่น 1800MHz ไปตั้งแต่หัวค่ำคืนแรก จนมาปิดราคาสุดท้ายที่ได้มูลค่ารวมทั้งหมดถึง 151,952 ล้านบาท ผู้ชนะหักปากกาเซียนเป็น JAS และ TRUE ได้ไป!!กสทช. ย้ำค่าบริการจะไม่แพงขึ้นแน่นอน

ข้อมูลน่าสนใจจากการประมูลคลื่น 900MHz

  • เริ่มการประมูลตั้งแต่ 9 โมงเช้า วันที่ 15 ธันวาคม 2558 จบวันที่ 18 เวลา 00.15.น. รวมเป็นระยะเวลา 65 ชม. 55 นาที (ไม่รวมเวลาหยุดพักการประมูล)
  • เคาะประมูลเป็นจำนวนทั้งหมด 198 รอบ
  • ผู้ชนะคลื่น lot 1 (ความถี่ 895 - 905 MHz / 940 - 950 MHz) ได้แก่ JAS มูลค่า 75,654 ล้านบาท
  • ผู้ชนะคลื่น lot 2 (ความถี่ 905 - 915 MHz / 950 - 960 MHz) ได้แก่ True มูลค่า 76,298 ล้านบาท
  • AIS ที่ถูกเก็งว่าได้แน่นอน กลับยอมถอยไป เสนอราคาสุดท้าย lot 2 ในราคา 75,976 ล้านบาท
  • DTAC ที่ถูกปรามาสเอาไว้ แต่คราวนี้สู้ไม่ถอย เสนอราคาสุดท้าย lot 1 ในราคา 70,180 ล้านบาท
  • รายได้เกินจากที่คาดการเอาไว้ 135,872 ล้านบาท!!
  • มูลค่าของใบอนุญาต 2 คลื่นความถี่ (รวม 40MHz) สร้างรายได้ให้รัฐมากกว่าการประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง (280MHz) อีกแล้ว (50,862 ล้านบาท)
  • มูลค่าของใบอนุญาต 900MHz 2 คลื่นความถี่ (รวม 40MHz) สร้างรายได้ให้รัฐมากกว่าเมื่อตอน 1800MHz (60MHz) ถึง 71,174 ล้านบาท
  • เมื่อคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อ 1 MHz จะอยู่ที่ 4,038.9 ล้านบาท
  • ค่าเฉลี่ยสูงกว่าคลื่น 1800MHz (2,692.6 ล้านบาท) อยู่ถึง 1,346.3 ล้านบาท
  • ใบอนุญาตคลื่น 900MHz เพียงใบเดียว (10MHz) มีมูลค่ามากกว่าเมื่อคราวใบอนุญาตคลื่น 2100MHz ทั้งหมด 45MHz (41,625 ล้านบาท)
  • ราคาของคลื่น Low Band (ความถี่ต่ำกว่า 1000MHz) ปกติจะสูงกว่า High Band อยู่แล้ว เพราะคลื่น Low Band สามารถส่งสัญญานได้พื้นที่ไกลกว่า ประหยัดค่าลงทุนเรื่องเสาสัญญานไปได้มาก
  • การนำคลื่น 900MHz ไปใช้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนำเอาไปทำ 3G หรือ 4G เพราะเป็นคลื่นมาตรฐานที่โทรศัพท์รองรับ 3G ใช้กัน ส่วน 4G แม้จะไม่ได้รองรับคลื่น 900MHz เป็นหลักแต่ก็มีหลายประเทศใช้งานอยู่
  • คลื่น lot 2 มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลมากกว่า lot 1 ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันสัญญานรบกวนจากคลื่น 850MHz ซึ่งติดกับคลื่นของดีแทคในปัจจุบัน และเมื่อหมดสัมปทาน อาจไม่ถูกนำกลับมาประมูลใหม่ เนื่องจากกสทช.มีแผนจะนำเอาไปใช้ควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูงแทนhttps://www.scbeic.com/th/detail/product/620



สรุปต้นทุนด้านใบอนุญาตของแต่ละเครือข่าย และสัมปทานใบอนุญาตที่มีในมือ

 

frequency

bandwidth

expire

value

avg.cost / year

AIS

1800

15MHz

2033

40,986 MB

2277 MB

 

2100

15MHz

2027

14,625 MB

975 MB

DTAC

850

10MHz

2018

สัมปทาน

ส่วนแบ่งรายได้ 30%

 

1800

25MHz

2018

สัมปทาน

ส่วนแบ่งรายได้ 30%

 

2100

15MHz

2027

13500 MB

900MB

TRUE

850

15MHz

2025

4350MB

(ซื้อ Hutch)

310MB

 

900

10MHz

2030

76,298 MB

5065.07 MB

 

1800

15MHz

2033

39,792 MB

2210.67MB

 

2100

15MHz

2027

13,500 MB

900MB

JAS

900

10MHz

2030

75,654 MB

5065.07 MB

ราคาคลื่น 900MHz ของประเทศไทยยังถือว่าเป็นอันดับ 3 ของโลกอยู่นะ

อสมท.ปล่อยคลื่น 2600MHz เตรียมนำมาประมูลในปี 2560

$
0
0

หลังจากการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2ใบไปเมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับภาครัฐ ทางกสทช.และรัฐบาลก็เล็งเห็นถึงหนทางการหารายได้นี้ และเริ่มจริงจังกับการนำเอาคลื่นความถี่ที่ปัจจุบันไม่ถูกใช้งานกลับมาจัดสรรใหม่ ซึ่งล่าสุดมีการเปิดเผยว่าทางกสทช.และรองนายกฯ ได้เข้าเจรจากับทางอสมท.(ช่อง9) เพื่อขอคืนคลื่น 2600MHz ที่ไม่ถูกใช้งานได้สำเร็จ เตรียมนำกลับมาจัดสรรและเปิดประมูลได้ในปี 2560 นี้

  

"จากข้อมูลที่ได้รับจากเลขาธิการ กสทช. ประเทศไทยควรจะต้องมีคลื่นความถี่สำหรับให้บริการโทรคมนาคมราว 690 MHz แต่ปัจจุบันมีแค่ 250 MHz ซึ่งนอกจาก อสมท แล้วทางรัฐบาลก็จะรับไปพิจารณาเกี่ยวกับการคืนคลื่นในส่วนของรัฐวิสาหกิจอื่นด้วย"

ข่าวนี้ก็ถือเป็นเรื่องดีต่อวงการโทรคมนาคมไทย ที่จะมีการนำเอาคลื่นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์กลับมาใช้งานอีกครั้ง ซึ่งแม้ว่าคลื่นที่จะทำการประมูลไปก่อนหน้านี้ จะมีอยู่มากในระดับนึงแล้ว แต่แทนที่จะเว้นว่างไม่ได้ใช้งาน การนำเอามาทำประโยชน์ได้อีกครั้งก็เป็นเรื่องที่ดีกว่า แต่จะเหลือใครสนใจมาประมูลมากน้อยขนาดไหนนั้นก็ต้องติดตาม และการประมูลคลื่น 2600MHz นี้ ก็น่าจะไม่ได้หวือหวาเหมือนคราวคลื่น 900MHz และ 1800MHz เพราะ

1. คลื่น 2600MHz อยู่ในช่วงความถี่สูง ส่งสัญญานไปได้ไม่ไกลมาก การติดตั้งให้ครอบคลุมต้องใช้เงินลงทุนสูง (แต่ AIS และ DTAC ที่ลงทุนบนคลื่น 2100MHz ไปก่อนหน้า อาจจะสบายหน่อยเพราะใช้ของเดิมได้)

2. TRUE และ JAS น่าจะยังจุกกับการประมูลคลื่น 900MHz และน่าจะต้องเตรียมเงินจ่ายก้อนใหญ่ในปี 2561

3. จำนวนคลื่นความถี่ทั้งหมดที่อสมท.ถือครองมีสูงถึง 144MHz น่าจะทำให้คลื่นที่จะถูกนำมาประมูลมีมากเพียงพอ อย่างไรก็ดีต้องรอสรุปจากทางอสมท.อีกครั้งว่าจะคืนกลับจำนวนเท่าไหร่กันแน่ เพราะต้องไปรอเจรจากับคู่สัญญาก่อน

 

คนที่จะได้รับอานิสงค์หากมีการประมูลคลื่นความถี่ 2600MHz นี้เต็มๆ น่าจะเป็น DTAC และ JASเพราะ

DTAC - คลื่นในมือกว่า 70% กำลังจะหมดสัมปทานในปี 2561 ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายๆฝ่ายกังวลว่า Dtac จะไม่สามารถให้บริการได้ดีเหมือนเดิม หากมีการประมูลเกิดขึ้นจริงก็จะเป็นการต่อชีวิต จากที่หลายคนมองว่าค่ายใบพัดสีฟ้านี้กำลังจะตาย ให้กลับฟื้นคืนมาได้ใหม่ทันที เรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้อีกเพียบ

JAS - คลื่น 900MHz ประมูลมาได้ 10MHz แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายๆฝ่ายให้ข้อมูลตรงกันว่าใช้ได้จริงเพียง 7.5MHz นั้น ยังไงก็ไม่เพียงพอแก่การให้บริการในระยะยาวได้แน่นอน การมีคลื่น 2600MHz นี้เข้ามาเสริมพอร์ทก็จะทำให้คุณภาพสัญญานของ JAS นั้นดูดีขึ้นมาในทันตาเห็นเลยทีเดียว

 

ส่วน AIS และ TRUE

AIS - หลังจากที่ได้จับมือกับทาง TOT นำเอาคลื่น 2100MHz มาใช้ได้เพิ่มอีก 15MHz รวมเป็น 30MHz แล้ว ก็ทำให้คลื่นในมือมีอยู่รวม 45MHz ก็น่าจะเพียงพอในระดับนึงแล้ว แต่ถ้าราคาไม่สูงมาก เชื่อว่า AIS ก็จะยังร่วมประมูลเพื่อนำคลื่นมาร่วมใช้งานด้วย

TRUE - มีการสะสมคลื่นเอาไว้มากเพียงพอแล้ว แถมยังมีคลื่น low band อยู่ถึงสองใบ สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศแบบสบายๆ ไม่น่าจะต้องเดือดร้อนเอา 2600MHz อีกใบ...แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้กับ TRUE Tongue

 

ก็ต้องขอชื่นชมทางกสทช.ที่ไปเจรจานำเอาคลื่นกลับมาใช้งานในครั้งนี้ และเร่ิมทำแผน Roadmap การจัดสรรคลื่นให้เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น และก็หวังว่าจะได้เห็นคลื่นอื่นๆตามมาอีกในอนาคต ซึ่งคนที่ได้ประโยชน์ก็พวกเราเราที่(น่าจะ)ได้ใช้งานโทรศัพท์ได้มีคุณภาพมากขึ้น และรัฐก็สร้างรายได้มากขึ้นตามไปด้วย

และก็น่าชื่นชมทางอสมท.เช่นกันที่ยอมคืนคลื่นกลับมาแบบไม่ต้องลุ้นอะไรมากมายเหมือนคราวเต่าและแมว และก็น่าจะดีกับทางอสมท.เองด้วย เพราะการคืนคลื่นนี้ก็จะมีเงินเยียวยาให้แก่องค์กรด้วยเช่นกัน ^^

 

รอติดตามการประมูลนี้กันต่อไปด้วยกันครับ

 

ที่มาข่าวการคืนคลื่น 2600MHz จาก กรุงเทพธุรกิจ และ ประชาชาติธุรกิจ

ต้อนรับน้องใหม่.. ทดสอบ 4G สามค่าย AIS / dtac / Truemove H ลอง speedtest ใครจะแรงกว่ากัน

$
0
0

ถึงแม้ประมูล 4G จะจบลงไปแล้ว ใครได้คลื่นอะไรไปบ้างก็คงรู้กันอยู่ (ผลประมูลคลื่น 1800 / ผลประมูลคลื่น 900) แต่ที่ยังไม่จบคือสงคราม 4G ที่ตอนนี้ค่ายพี่ใหญ่แต่เป็นน้องใหม่ในการให้บริการ 4G อย่าง AISนั้นเพิ่งจะเปิดให้ทดลองใช้บริการกันไปก่อนหน้านี้และเริ่มวางเสากันแบบโครมๆ มีหรือที่ dtacและ Truemove H ที่เปิดให้บริการมาก่อนจะยอมง่ายๆ เริ่มขยายสัญญาณและเตรียมอัพเกรดเสากันยกใหญ่เช่นกัน งั้นเรามาลองทดสอบความแรง 4G ของทั้ง 3 ค่าย AIS / dtac / Truemove Hกันเลยดีกว่า

เนื่องจากทั้ง 3 ค่ายมีการปรับปรุงเครือข่าย 4G ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเสาและเปลี่ยนอุปกรณ์กันยกใหญ่ในช่วงนี้ แน่นอนว่าผลความเร็วจากการทดสอบอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้แทบทุกวัน เพราะฉะนั้นก็ขอแปะวันที่ได้ไปทำการทดสอบมาให้เป็นตัวอ้างอิงละกันนะครับ โดยการทดสอบทั้งหมดใน blog นี้ทำในวันที่ 12 มกราคม 2559 ทั้งหมด ตั้งแต่เช้ายันเย็น และหมด data ไปรวมทั้ง 3 ค่ายเป็นจำนวน 6GB โดยประมาณ (speedtest ยิ่งแรงยิ่งกิน data เยอะนะ)

*เครื่องทดสอบใน blog ทั้งหมดเรียงจากซ้ายไปขวาคือ AIS / dtac / Truemove H ครับ

แต่ก่อนการทดสอบ speedtest นั้น อาจจะต้องมีการตั้งค่า server ให้วิ่งไปทดสอบที่เดียวกัน เพื่อผลการทดสอบที่เท่าเทียม งานนี้เลยต้องมีการเลือก server ที่จะใช้ทำ speedtest โดยเราเลือกของ STS Group ครับ ซึ่งเท่าที่ได้รับข้อมูลมานี่เป็น 1 ใน server ที่ไม่มีการบีบท่อ ไม่มีการจำกัดความเร็ว คือวิ่งได้เต็มสปีดสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหนก็ไม่กั๊ก  

 

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

จุดเริ่มต้นการทดสอบของเราในวันนื้คือที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิครับ เปิดกันที่ใจกลางกรุงเทพกันก่อนเลย ซึ่งห้างที่เราไปทำการทดสอบคือ Center One และผลการทดสอบรอบแรกก็ออกมาตามนี้

AIS : ดาวน์โหลด DL 177.13 Mbps / อัพโหลด UL 34.54 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 52.19 Mbps / อัพโหลด UL 25.27 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 28.98 Mbps / อัพโหลด UL 21.91 Mbps 

ยังคงเป็น Center One ที่เดิมครับ แต่ย้ายขึ้นมาชั้นบนสุด

AIS : ดาวน์โหลด DL 152.60 Mbps / อัพโหลด UL 35.34 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 49.97 Mbps / อัพโหลด UL 20.01 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 27.06 Mbps / อัพโหลด UL 22.11 Mbps

ย้ายตำแหน่งออกมาที่สะพานลอยครับ ด้านหน้าคืออนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

AIS : ดาวน์โหลด DL 95.28 Mbps / อัพโหลด UL 31.00 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 15.93 Mbps / อัพโหลด UL 27.39 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 17.17 Mbps / อัพโหลด UL 10.86 Mbps 

 

MBK มาบุญครอง 

เริ่มจากฝั่งนอกห้าง บริเวณลานกิจกรรมหน้าโตคิวครับ

AIS : ดาวน์โหลด DL 42.09 Mbps / อัพโหลด UL 29.12 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 14.40 Mbps / อัพโหลด UL 23.55 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 7.78 Mbps / อัพโหลด UL 4.99 Mbps 

ขยับเข้ามาในห้างชั้นล่าง แถวๆ ร้านไก่ทอดเกาหลีเคียวชอน

AIS : ดาวน์โหลด DL 92.00 Mbps / อัพโหลด UL 36.28 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 10.22 Mbps / อัพโหลด UL 6.47 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 36.40 Mbps / อัพโหลด UL 20.93 Mbps 

ขึ้นไปชั้นบนสุด หน้าโรงหนัง SF

AIS : ดาวน์โหลด DL 128.30 Mbps / อัพโหลด UL 37.70 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 15.77 Mbps / อัพโหลด UL 8.77 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 41.40 Mbps / อัพโหลด UL 21.22 Mbps  

 

สยาม

เดินข้ามทางเชื่อมมาบุญครอง-สยามออกมา แล้วเดินลุยเข้ามาในสยาม จุดทดสอบคือแถวๆ ธนาคารไทยพาณิชย์ครับ (ถ้าทดสอบแล้วเจอบอกว่าแบตจะหมดแบบในภาพอย่าไปกดติดตั้งนะครับ มันหลอกลวง)

AIS : ดาวน์โหลด DL 38.19 Mbps / อัพโหลด UL 34.35 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 18.34 Mbps / อัพโหลด UL 25.97 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 20.18 Mbps / อัพโหลด UL 10.80 Mbps  

ลัดเลาะมาเรื่อยๆ จุดนี้คือทางเข้า Siam Square One ชั้นล่าง

AIS : ดาวน์โหลด DL 80.46 Mbps / อัพโหลด UL 33.30 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 9.37 Mbps / อัพโหลด UL 10.89 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 18.56 Mbps / อัพโหลด UL 22.09 Mbps  

 

สยามพารากอน

ชั้นล่างสุดของสยามพารากอนโซนอาหารครับ ลองมาทดสอบในที่คนเยอะๆ ดูบ้าง อันนี้ข้างๆ After You

AIS : ดาวน์โหลด DL 64.99 Mbps / อัพโหลด UL 32.92 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 5.80 Mbps / อัพโหลด UL 6.21 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 35.45 Mbps / อัพโหลด UL 10.57 Mbps  

 

Gateway เอกมัย

ย้ายมาฝั่งตะวันออกบ้าง เริ่มที่ห้างเกตเวย์เอกมัยกันเลย อันนี้คือในห้างชั้น 1 ครับ

AIS : ดาวน์โหลด DL 98.50 Mbps / อัพโหลด UL 34.84 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 26.29 Mbps / อัพโหลด UL 18.65 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 29.98 Mbps / อัพโหลด UL 8.09 Mbps  

หน้าห้างเกตเวย์เอกมัย ใต้ทางเชื่อมรถไฟฟ้า

AIS : ดาวน์โหลด DL 6.62 Mbps / อัพโหลด UL 23.67 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 20.83 Mbps / อัพโหลด UL 29.45 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 37.41 Mbps / อัพโหลด UL 18.42 Mbps  

ลองขยับมาที่ทางเข้าฝั่งลานจอดรถดูบ้าง

AIS : ดาวน์โหลด DL 14.54 Mbps / อัพโหลด UL 21.01 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 51.57 Mbps / อัพโหลด UL 26.84 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 17.87 Mbps / อัพโหลด UL 18.40 Mbps  

 

Central บางนา

เดินเข้ามากลางห้างเซ็นทรัลบางนาชั้น 1 เลยครับ ว่าแล้วกดปื้ด~ ทำ speedtest ทันที

AIS : ดาวน์โหลด DL 47.53 Mbps / อัพโหลด UL 10.07 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 52.98 Mbps / อัพโหลด UL 30.71 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 18.44 Mbps / อัพโหลด UL 10.43 Mbps  

ย้ายมาบริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลบางนา ทางเข้าจากป้ายรถเมล์ครับ

AIS : ดาวน์โหลด DL 39.10 Mbps / อัพโหลด UL 10.23 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 63.79 Mbps / อัพโหลด UL 32.78 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 4.98 Mbps / อัพโหลด UL 8.63 Mbps  

ยังคงอยู่ที่เซ็นทรัลบางนา แต่เดินขึ้นบันไดมาชั้น 4 แถวๆ Super Sport

AIS : ดาวน์โหลด DL 46.80 Mbps / อัพโหลด UL 10.61 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 16.31 Mbps / อัพโหลด UL 8.54 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 22.60 Mbps / อัพโหลด UL 8.43 Mbps 

 

ZPELL ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต

จากบางนามารังสิด วิ่งเข้าห้างใหม่อย่าง ZPELL ที่อยู่บริเวณด้านหน้าของฟิวเจอร์

AIS : ดาวน์โหลด DL 98.00 Mbps / อัพโหลด UL 33.09 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 52.16 Mbps / อัพโหลด UL 24.47 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 26.00 Mbps / อัพโหลด UL 16.99 Mbps  

เดินลัดเลาะมาฝั่งโรบินสัน ยังอยู่บริเวณชั้น 1 เหมือนเดิมครับ

AIS : ดาวน์โหลด DL 45.07 Mbps / อัพโหลด UL 35.81 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 13.93 Mbps / อัพโหลด UL 8.77 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 25.39 Mbps / อัพโหลด UL 8.60 Mbps  

ย้ายลงมาชั้นใต้ดินฝั่งเซ็นทรัล แถวๆ บูธขายอาหาร

AIS : ดาวน์โหลด DL 163.42 Mbps / อัพโหลด UL 34.35 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 51.34 Mbps / อัพโหลด UL 31.37 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 14.74 Mbps / อัพโหลด UL 11.06 Mbps  

ปิดท้ายทัวร์ทดสอบ 4G กันที่ชั้นใต้ดินฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต เป็นจุดสุดท้ายครับ

AIS : ดาวน์โหลด DL 103.95 Mbps / อัพโหลด UL 33.74 Mbps

DTAC : ดาวน์โหลด DL 47.15 Mbps / อัพโหลด UL 26.02 Mbps

Truemove H : ดาวน์โหลด DL 26.71 Mbps / อัพโหลด UL 7.08 Mbps  

 

และนี่คือจำนวนครั้ง speedtest ที่กดกันไปวันนี้ครับ 3 เครื่อง 3 เครือข่าย กดกันไปรัวๆ หมดดาต้ากันไปแบบน้ำตาไหล 

เนื่องจาก AIS ผลทดสอบค่อนข้างดุเดือด พี่แกเลยซัดไปถึง 3.17GB (อย่างที่บอกไปตอนต้นว่ายิ่งทดสอบได้ความเร็วสูงเท่าไหร่ data ก็จะหมดเยอะเท่านั้น)

dtac เป็นอีกค่ายที่ทดสอบได้แรงๆ เหมือนกันในวันนี้ จัดไป 1.81GB 

ส่วน Truemove H วันนี้เหมือนจะเจอคนใช้เครือข่ายเยอะไปหน่อย พี่แกเลยมาเบาๆ 0.99GB 

 

สรุปผลการทดสอบ speedtes 4G สามเครือข่าย AIS / dtac / Truemove H 

จากการไปทดสอบ speedtest ในครั้งนี้ตัวเลขความเร็วความแรงเชื่อถือได้ 100% หรือยัง และเอาไปใช้อ้างอิงได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ขอตอบว่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นครับ เช่นการครอบคลุมของเครือข่ายที่ตอนนี้ AIS ถึงแม้จะมาช้าสุดเพิ่งจะได้ใบอนุญาตคลื่น 1800 ไป แต่ก็ตั้งเสา 4G ได้ไวโคตรๆ เรียกว่ารีบสุดๆ เลยก็ว่าได้

ส่วนเครื่องความเร็วจากผล speedtest นั้นเชื่อถือได้บ้างเพียงบางส่วน แต่สาเหตุจะมากจากอะไรนั้น ลองมาดูสรุปผลการทดสอบของแต่ละค่ายกันครับ

AIS : ผลการทดสอบ speedtest ในหลายๆ ครั้งจะเห็นว่ามันเร็วเว่อร์มากมาย เหยียบ 100 Mbps แทบทุกจุด สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจาก

  • ตอนนี้ AIS ยังมีผู้ใช้บริการในเครือข่ายไม่มากนัก เพราะเพิ่งจะเริ่มเปิดให้บริการ เมื่อเทียบกับอีก 2 ค่ายที่เปิดให้บริการมาก่อนแล้วยังมีจำนวนผู้ใช้งานน้อยกว่า เพราะฉะนั้นเครือข่าย 4G จึงค่อนข้างโล่งและวิ่งได้เต็มสปีด ส่วนในบางจุดที่ผลทดสอบยังอ่อนด้อยก็อาจจะอยู่ในช่วงปักเสาขยายเครือข่าย
  • คลื่น 1800 ของ AIS นั้นเอามาทำ 4G เต็มทั้ง 15 MHz เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะไปเกาะที่ไหน หากสัญญาณเต็มและถนนโล่งความเร็วสูงสุดที่วิ่งได้นั้นจะเกือบ 100 Mbps 
  • ในบางจุดที่ผลทดสอบมีความเร็วเกิน 100 Mbps นั้นเป็นโซน 4G+ / LTE Advanced หรือ CA (Carrier Aggregator) ที่ได้ยินกันมาด่อนหน้านี้ คือการเอาคลื่น 1800 และ 2100 มาเพิ่มความเร็วให้ 4G ซึ่ง ais เริ่มเปิดให้บริการแล้วเป็นรายแรก

DTAC : ผลการทดสอบ speedtest อาจจะมีแกว่งๆ บ้าง เพราะ dtac นั้นมีการแบ่งทั้งคลื่น 1800 และ 2100 มาทำ 4G

  • dtac เป็นค่ายที่มีผู้ใช้บริการมากพอสมควรเนื่องจากเปิดให้บริการมาสักพักแล้ว เมื่อมีคนใช้เยอะผลการทำ speedtest ก็อาจจะได้ความเร็วที่ลดลง เพราะมีผู้ใช้งานเยอะ
  • dtac เปิดให้บริการ 4G บนคลื่น 2100 เพียง 5 MHz ซึ่งถ้าไปเกาะคลื่น 2100 ความเร็วสูงสุดที่สดสอบได้ก็จะราวๆ 30 Mbps นิดๆ แต่ถ้าไปเกาะคลื่น 1800 ที่ตอนนี้เปิดให้บริการ 10 MHz ก็จะได้ความเร็วขึ้นไปราวๆ 60 Mbps
  • dtac เองยังมีแผนจะเพิ่มแบนด์วิธของ 1800 หลังจากเจรจากับ CAT สำเร็จลุล่วง และจะเปิดให้บริการ 4G+ หรือ LTE Advanced ในเร็วๆ นี้่

Truemove H : เป็นค่ายแรกที่เปิดให้บริการ 4G ก่อนใคร แต่ผลการทดสอบรอบนี้ทำไมมันดูแรงน้อยกว่า 2 ค่ายที่เหลือในบางจุด แม้รวมๆ จะดูสเถียรและให้บริการได้ในทุกจุด แต่ความเร็วมันไม่พีคไม่ปังสักเท่าไหร่

  • ค่ายแรกที่เปิด 4G ก็ต้องมีคนในระบบเยอะเป็นธรรมดา เมื่อถนนมันแน่นมากๆ รถวิ่งได้ช้ายังไง 4G ก็ช้าลงแบบนั้นแล คงต้องรอดูการปรับจูนสัญญาณจากค่ายนี้อีกที ว่าได้คลื่น 900 มาแล้วจะเอาไปทำอะไรต่อ จะมีผลกับการปรับขยายแบนด์วิธของ 4G ด้วยหรือไม่
  • Truemove H เป็นอีกค่ายที่เปิดบริการ 4G บน 1800 และ 2100 แต่บนคลื่น 1800 ประมูลมาได้นั้นก็เปิด 4G เพียง 10 MHz เท่านั้น จึงทำความเร็วสุงสุดได้ราวๆ 60 Mbps (อีก 5 MHz เอาไปหล่อเลี้ยง 2G ไม่ให้ซิมดับ) ส่วนคลื่น 2100 ก็เบ่งมาทำ 4G และ 3G เช่นกัน ไม่ได้เปิดใช้เต็ม 15 MHz
  • Truemove H เองก็เร่งจะเปิด 4G+ หรือ LTE Advanced ในเร็วๆ นี้เช่นกัน

อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่านี่คือผลการทดสอบในวันที่ 12 มกราคม 2559 ครับ เอาไว้หลังจาก AISเปิดให้บริการ 4G เต็มรูปแบบ เราก็กะจะไปทดสอบซ้ำตามจุดเหล่านี้อีกรอบ ดูว่าถ้ามีคนเข้ามาใช้ 4G เยอะๆ แล้วความเร็วจะหล่นเหมือนอีก 2 ค่ายหรือเปล่า รวมถึงรอให้ dtacและ Truemove Hได้เปิดให้บริการ 4G+ หรือ LTE Advance ซะก่อน จะได้สมน้ำสมเนื้อกัน และแน่นอนว่าทีมงานเองก็มีแผนจะไปทดสอบตามต่างจังหวัดด้วยครับ เอาไว้รอติดตามกันอีกทีว่าจะเป็นเมื่อไหร่ หรืออยากให้ไปทดสอบสายอีสาน สายเหนือ สายใต้ก็โหวตกันมาก็ได้นะครับ เดี๋ยวเราจะพยายามหาเวลา roadtrip ออกไปลองกัน ^ ^


สรุป 4G ประเทศไทย ต้องใช้คลื่นความถี่ Band ไหน? ควรต้องมีคลื่นอะไรรองรับในอนาคตบ้าง?

$
0
0

หลังจากที่เริ่มมีการให้บริการ 4G ในไทยครบกันทั้ง AIS, DTAC, และ TRUEMOVE H รวมถึง JAS ผู้ให้บริการน้องใหม่ สิ่งนึงที่หลายๆคนเริ่มสงสัยและกังวลกันก็คือ เมื่อซื้อสมาร์ทโฟนตัวใหม่จะดูอย่างไรว่าเครื่องรองรับ 4G ที่มีให้บริการอยู่ตอนนี้ทุกเครือข่าย รวมถึงที่กำลังมีข่าวว่าจะนำเอามาประมูลในอนาคตอันใกล้นี้

ความวุ่นวายของการเลือกใช้คลื่น 4G

เนื่องจากว่าเมื่อยุค 2G/3G มีการจับจองคลื่นไปให้บริการที่ค่อนข้างหลากหลาย แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศทั่วโลก สัมปทานคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการแต่ละเจ้าก็มีหมดช้าเร็วต่างกัน ทำให้การพัฒนาคลื่นเพื่อรองรับ 4G LTE นั้นถูกออกแบบมาให้มีความหลากหลายตามข้อจำกัดในแต่ละประเทศ ซึ่งสมาร์ทโฟนที่ถูกผลิตออกมาในแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อนนั้น ก็ทำมาเพื่อขายได้ในหลายประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องรองรับ 4G LTE ให้หลากหลายตามไปด้วย

ประเทศที่มีการนำเอา 4G ไปใช้งานแล้ว  (Dec 2014) ข้อมูลจาก wikipedia

ทำไมความถี่ 4G ที่เครื่องรองรับเรียกเป็น Band

ถ้าใครสังเกตเวลาดูสเปคเครื่อง การระบุว่าเครื่องนั้นๆรองรับความถี่อะไรบ้างของ 3G และ 4G จะต่างกัน โดย 3G จะมีการระบุคลื่นความถี่เป็นตัวเลขเต็มๆ เช่น 850/900/1900/2100 แต่ว่า 4G จะระบุเป็น band ซะส่วนใหญ่ เช่น band 1/2/3/4/5/7/8/12 ซึ่งส่วนตัวผมไม่ทราบเหตุผลอย่างเป็นทางการนะครับ แต่คาดว่าน่าจะเป็นการลดจำนวนตัวอักษร แทนที่จะต้องพิมพ์ยาวๆ ก็ลดให้เหลือแค่เลข 1-2 หลักก็พอ เพราะเครื่องๆนึงอาจมีการรองรับความถี่ได้เยอะมาก ตามความหลากหลายดังที่เขียนไปก่อนหน้านั่นเอง (ถ้าใครมีข้อมูลอย่างเป็นทางการ รบกวนมาบอกได้นะครับ)

 

คลื่น 2G/3G ที่ได้รับความนิยมและสมาร์ทโฟนยุคนี้มักจะรองรับ

2G : 850/900/1800/1900

3G : 850/900/(1700)/1900/2100

ส่วนในบ้านเรา คลื่นความถี่ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

2G : 900/1800

3G : 850/2100 

 

ตัวอย่างสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G

*การรองรับอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

Samsung Galaxy S6

Band 1/2/3/4/5/7/12/17/20

Samsung Galaxy Note 5

Band 1/2/3/4/5/7/8/12/17/20

Samsung Galaxy A5/7(6)

Band 1/3/5/7/8/20/40

iPhone 6s

Band 1/2/3/4/5/7/8/12/13/17/18/19/20/25/26/28/29

iPhone 5s

Band 1/2/3/4/5/8/13/17/19/20/25

Microsoft Lumia 950

Band 1/2/3/4/5/7/8/12/17/20/28/38/40

Oppo R7s

Band 1/3/5/7/8/20/40

Band 1(2100), 2(1900), 3(1800), 4(1700/2100), 5(850), 7(2600), 8(900), 12(700), 13(700), 17(700), 18(800), 19(800), 20(800), 25(1900), 26(850), 28(700), 29(700), 38(2600), 40(2300)

 

สรุปคลื่นที่ให้บริการ 4G LTE ในประเทศไทยในปัจจุบัน

แบ่งตามความถี่

900MHz [Band 8] : Truemove H (5MHz), JAS (5MHz)

1800MHz [Band 3] : AIS (15MHz), DTAC (15MHz), Truemove H (15MHz)

2100MHz [Band 1] : Dtac (5MHz), Truemove H(10MHz), TOT (แบ่งไปให้ AIS ใช้)

 

คลื่นที่กำลังเป็นข่าว ว่าอาจจะนำมาประมูลเพิ่มเติมในอนาคต

ได้แก่

700MHz [Band 17]เป็นคลื่นใหม่ที่เริ่มเปิดใช้ในโลกได้ไม่นาน แต่เริ่มได้รับความนิยมมาเรื่อยๆ ด้วยความที่สัญญานมีรัศมีครอบคลุมกว้างมาก ลงเสาทีเดียวไปไกลข้ามอำเภอ ปัจจุบันคลื่นนี้ในประเทศไทยถูกเอาไปใช้กระจายสัญญานโทรทัศน์อยู่ แต่ไม่แน่ว่าอาจจะมีเซอร์ไพร์ส เพราะทางคุณสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการ กสทช. ได้มีการเปรยว่าอาจจะมีการนำกลับมาประมูลได้(supinya.com)

850MHz [Band 5]คลื่น 850MHz ที่ dtac ใช้งานอยู่และกำลังจะหมดสัมปทานในปี 2561 จำนวน 10MHz หากมีการนำเอามาประมูลหลังหมดสัมปทาน ก็น่าจะถูกนำเอามาทำเป็น 4G แต่คลื่นนี้ยังไม่มีความแน่นอน เพราะมีข่าวว่าทางการรถไฟฯอาจจะขอนำเอาไปทำเป็นความถี่สำหรับใช้ควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูง(scbeic.com)ซึ่งก็มีข้อถกเถียงกันว่าไม่ควร เพราะเป็นคลื่นที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง การนำมาประมูลใช้งานในกิจการโทรคมนาคมจะช่วยทำให้เกิดผลประโยชน์ต่อรัฐสูงสุดอยู่นั่นเอง

2300MHz [Band 40]คลื่นนี้ปัจจุบันเป็นทาง TOT ถือครองสัมปทานอยู่ มีความกว้างถึง 60MHz และคาดกันว่าอาจจะมีการนำเอามาทำสัญญากับทาง AIS เพิ่มเติม(droidsans)จากที่ก่อนหน้านี้ก็มีคลื่น 2100 ไปก่อนแล้วถึง 15MHz แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้า คาดกันว่าอาจจะเพราะ AIS น่าจะมีคลื่น high band ที่เพียงพอแล้ว และคลื่น 2300MHz นำเอามาใช้งานจริงค่อนข้างลำบากเพราะรัศมีการส่งสัญญาค่อนข้างแคบนั่นเอง

2600MHz [Band 7]ปัจจุบันถือครองโดย อสมท. และยังมีการใช้งานอยู่เรื่อยๆ แต่ว่าไม่ได้ใช้เต็มคลื่นความถี่ทั้งหมด จึงมีการเจรจาขอคืนคลื่นบางส่วนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเบื้องต้นมีข่าวว่าทาง อสมท. ได้ตกลงในเงื่อนไขแล้ว แต่ว่ายังติดปัญหาเรื่องคู่สัญญาเดิมที่ทำกับทาง อสมท. จึงต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าจะได้ประมูลเมื่อไหร่ แต่ตามกรอบเวลาเดิมที่เป็นข่าวคือ จะมีการประมูลคลื่นนี้เกิดขึ้นในปี 2560 ต่อไป(droidsans)

 กล่าวโดยสรุป ว่าถ้าหากเราต้องการที่จะซื้อมือถือวันนี้ให้รองรับ 4G ถึงในอนาคต ควรจะต้องรองรับ Band 1 / 3 / 5 / 7 / 8 / 17 / 40 หรือ 1 / 3 / 7 / 8 เป็นอย่างน้อยนะครับ

แต่สำหรับใครที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆก็ควรจะเพิ่มเป็น 1 / 3 / 4 / 7 / 8เพื่อให้รองรับทางอเมริกาด้วย ถ้าอยากดูเต็มๆ ว่า Band ไหนคือคลื่นความถี่อะไร สามารถเข้าไปดูทั้งหมดได้ที่ http://droidsans.com/what-4g-lte-band-to-purchase

 

สำหรับคนที่สงสัยว่าคลื่น 2600MHz ที่ดูมีความหวังที่สุดที่จะนำมาประมูลเป็นคลื่นต่อไปนั้น มีเครื่องรองรับเยอะขนาดไหน ลองไปดูข้อมูลที่ทาง GSMA (Global Mobile Suppliers Association) ได้เปิดเผยมาก่อนหน้านี้กันครับ

จำนวนโทรศัพท์ที่รองรับ 4G ในแต่ละความถี่

จะเห็นได้ว่าความถี่ 4G LTE ที่มีเครื่องรองรับ มากที่สุดได้แก่ 1800MHz ตามมาด้วย 2600MHz และ 2100MHz นั่นเอง ฉะนั้นก็ไม่ค่อยน่าห่วงเรื่องอุปกรณ์สักเท่าไหร่ครับ แต่กลายเป็นคลื่น 850/900/2300MHz ซะมากกว่าที่อาจจะมีเครื่องรองรับน้อยกว่าใคร 

ถ้าดูสเปคเครื่องรุ่นดังๆ ยอดนิยมในตลาดตอนนี้ก็จะเห็นว่าจะรองรับคลื่นยอดนิยมอย่าง 1800/2100MHz ทั้งหมดนะครับ แต่ว่า 900MHz นี่น่าจะต้องลุ้นเป็นเครื่องไป

ถ้าใครมีคำถามอื่น เช่น FDD TDD ต่างกันอย่างไร ก็มาเขียนคอมเม้นท์กันเอาไว้ได้ เดี๋ยวจะพยายามไปหาคำตอบมาเขียนเล่าให้อ่านกันนะ

AIS คลอดโปร 4G พร้อมเน็ตสูงสุด 75GB แชร์กันได้ 5 คน

$
0
0

วันนี้ ทาง AIS ได้ทำการคลอดแพ็กเกจรายเดือน 4G ตัวใหม่ เอาใจคนชอบเล่นเน็ตแบบสุดๆ โดยสามารถเล่นเน็ตได้สูงสุดถึง 75GB และสามารถแชร์กันได้สูงสุดถึง 5 คน เรียกได้ว่าเล่นกันหูตาแฉะ เล่นยังไงก็ไม่หมด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 โปรหลักๆ ด้วยกัน 4G Max Speed, 4G Multi และ 4G Share มีค่าบริการเริ่มต้นที่ 299 บาท มาดูรายละเอียดของแต่ละแพ็กเกจกันเลยครับ

4G Max Speed

สำหรับแพ็กเกจ 4G Max Speed นั้นสามารถใช้งานได้เพียงซิมเดียวเท่านั้น สำหรับลูกค้าเปิดเบอร์ใหม่, ย้ายค่ายเบอร์เดิม หรือเปลี่ยนจากเติมเงินเป็นรายเดือน โดยค่าบริการเริ่มต้นอยู่ที่ 299 บาท ส่วนลูกค้าปัจจุบันสามารถที่จะสมัครโปรนี้ได้ตั้งแต่แพ็กเกจ 688 บาท ขึ้นไป 

4G Multi

แพ็กเกจ 4G Multi นั้นเป็นแพ็กเกจที่สามารถแชร์การใช้งานเน็ตได้ถึง 5 ซิมพร้อมกัน ซึ่งจะเป็นเบอร์เดียวกันหมด 5 ซิม เหมาะกับคนที่มีหลายเครื่อง แต่ใช้งานการโทรเพียงแค่เครื่องเดียว โดยสามารถสมัครเครื่องหลักได้ด้วยการกด *100# โทรออก ส่วนการเปิดใช้งานซิมที่ 2-5 ก็มีค่าบริการเพิ่มเติม สำหรับค่าบริการเริ่มต้นนั้นอยู่ที่ 488 บาท

4G Share

ในส่วนของแพ็กเกจ 4G Share จะเหมาะกับคนที่ใช้งานหลายเครื่อง หรือใช้งานกับคนในครอบครัว เพราะว่าสามารถแชร์ได้ทั้ง นาทีการโทร และเน็ต ได้สูงสุดถึง 5 เบอร์ โดยที่เบอร์หลักนั้นจะต้องเป็นแพ็กเกจรายเดือนเท่านั้น ส่วนเบอร์สมาชิกที่พ่วงกับเบอร์หลักจะต้องเป็นเบอร์ระบบเติมเงิน ส่วนลูกค้าที่ใช้งาน Multi SIM อยู่จะไม่สามารถสมัครแพ็กเกจ 4G Share ได้ สำหรับค่าบริการเริ่มต้นนั้นอยู่ที่ 888 บาท

เน็ตของทั้ง 3 แพ็กเกจ ไม่มีเงื่อนไขการติด FUP (Fair Usage Policy) ซึ่งเมื่อใช้แพ็กเกจหลักหมดก็จะยังสามารถใช้งานต่อได้แต่ว่าจะเสียค่าบริการส่วนเกินเพิ่ม ส่วนของ "4G"ก็คือเครื่องที่รองรับ 4G จะสามารถใช้งานเน็ตเสริมตามจำนวนที่กำหนดได้ และนำไปรวมกับ "4G|3G"นั่นเองครับ ซึ่งก็หมายความว่า มือถือที่ไม่รองรับ 4G ก็จะสามารถใช้งานตามจำนวน "4G|3G"ได้เท่านั้น ส่วนแพ็กเกจแพงสุดนั้นอยู่ที่ 1,888 บาท และสามารถใช้งาน 4G|3G ได้ 75GB เท่ากัน เรียกได้ว่า AIS ปล่อยตัวเลือกออกมาให้เลือกได้หลากหลาย เหมาะกับการใช้งานของแต่ละคน

สำหรับข้อมูลและเงื่อนไขเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูที่ได้ www.ais.co.th 

เปรียบเทียบแพคเกจเบสิคจาก AIS, DTAC, Truemove ค่ายไหนคุ้มสุด?

$
0
0

เมื่อวานนี้ทาง AIS ได้หงายไพ่ เปิดโปรโมชั่นทุบราคา ให้ค่าเน็ตแบบกระจุยกระจาย สูงสุดเดือนละ 75GB จนทำให้หลายๆ คนฮือฮากันไปแล้ว มาวันนี้จึงขอรวบรวมเอาโปรมาตรฐานของทั้ง 3 ค่าย แบบที่ไม่ลับ ใครๆก็กดสมัครได้ มาเปรียบเทียบกันให้เห็นภาพว่า ตอนนี้แต่ละค่ายมีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหน และมีโปรอะไรที่น่าสมัครบ้างครับ

มีอัพเดทตารางของ Truemove H และ Dtac (28Jan)

ก่อนเริ่ม

ผมเชื่อว่าช่วงนี้กระแสโปรลับ ขอโปรพิเศษนอกเหนือจากตัวมาตรฐานมีมากันให้เพียบ แต่ว่าไม่ใช่ทุกคนจะได้โปรต่างๆเท่าเทียมกัน ซึ่งสาเหตุก็มาจากแพคเกจเดิมที่ใช้อยู่ ชำระเงินตรงเวลาหรือไม่ ใช้งานมานานขนาดไหนแล้ว คอลเซ็นเตอร์อารมณ์ดีอยู่รึเปล่า ฯลฯ ดังนั้นหากต้องการจะอวดว่ามีโปรอะไรเด็ดๆอยู่ ฝากระบุข้อมูลว่า

  1. แพคเกจที่ใช้อยู่ รายละเอียดว่าเจ๋งยังไง ใช้ได้นานกี่เดือน

  2. ได้มาได้อย่างไร เช่น กดสมัครเอง กำลังจะย้ายเครือข่าย หรือจีบคอลเซ็นเตอร์มา Tongue

  3. แพคเกจเดิมคือ หรือใช้งานต่อเดือนเฉลี่ย เท่าไหร่

  4. เครือข่ายไหน ใช้งานมานานกี่ปีแล้ว

ตัวอย่าง :: ราคา 399 เน็ต 50GB นาน 6 เดือน ได้มาจากข่มขู่คอลเซ็นเตอร์สาวน้อยว่าจะย้ายค่าย โดยแพคเดิมจ่ายอยู่เฉลี่ยเกิน 3 พันบาทต่อเดือน ใช้ Dtac อยู่มา 20 ปีแล้ว

สามารถมาเขียนในคอมเม้นท์ได้เลยนะครับ แต่ถ้าใครไม่มีและขี้เกียจจะเอาอะไรลับๆ ก็อ่านเปรียบเทียบด้านล่างนี้ได้ เป็นตัวตัวมาตรฐานที่เน้นให้ใครๆก็กดได้ทันทีกันได้เลยครับ

ช่องสีฟ้าคือจุดเด่นของแพคเกจในค่ายนั้นๆนะครับ

สามารถกดโหลดตารางเป็นไฟล์ pdf ไปดูเปรียบเทียบได้ง่ายๆที่ http://goo.gl/cn0i6V (อัพเดทเป็น v2)

AIS

AISค่าบริการ4G|3G (GB)4G only (GB)เน็ตรวม (GB)FUP (Kbps)โทร (นาที)ส่วนเกิน internetWiFi
4G MAX SPEED2991.5-1.5
ไม่มี
100149B / 1GB
Unlimited
4G MAX SPEED399415150149B / 1GB
4G MAX SPEED488821020099B / 1GB
4G MAX SPEED6881642030099B / 1GB
4G MAX SPEED8882463040099B / 1GB
4G MAX SPEED128840105060049B / 1GB
4G MAX SPEED1888601575150049B / 1GB
4G iSecond5008311100+SMS 60
+MMS 10
4G iSecond70016622150+SMS 75
+MMS 25

*4G only คือเวลาใช้งาน 4G จะเอาไปหักลบจากในช่องนี้ก่อน ส่วนเวลาที่ใช้ 3G หรือ 4G ในช่อง only หมดแล้วจะไปนับจากช่อง 4G|3G

เพิ่งเปิดมาเมื่อวาน เรียกเสียงฮือฮาแบบสุดๆ จากเน็ตที่ให้มาเยอะแบบบ้าคลั่ง จนหลายๆคนถึงกับกดเปลี่ยนไปเรียบร้อย แต่ว่ามันก็มีข้อดีข้อด้อยอยู่นะ

ข้อดี

  • เน็ตเยอะโคตร

  • มีโทรให้เยอะพอใช้งานสำหรับคนที่ไม่ต้องโทรติดต่อธุรกิจ

  • โปรให้มาใช้ยาวๆ ไม่ใช่โปรไม่กี่เดือน

  • มีหนังให้ดูจาก AIS Play สัปดาห์ละ 4 เรื่อง

ข้อด้อย

  • ลูกค้าปัจจุบันสมัครได้ตั้งแต่โปร 688 บาทขึ้นไปเท่านั้น

  • ไม่มี FUP (แลกกันไปกับเน็ตที่ให้เยอะกว่าคู่แข่งเป็นเท่าตัว)

  • แพคสูงๆจำนวนนาทีโทรได้น้อยกว่าคู่แข่งไปเยอะ

 

Truemove H

Truemove Hค่าบริการ4G|3G (GB)เน็ตแถมเน็ตรวม (GB)FUP (Kbps)โทร (นาที)ส่วนเกิน internetWiFi
4G iSmart2990.75-0.75128100
ซื้อเติม
- 2GB / 49 บาท
- 4GB / 99บาท
Unlimited
4G iSmart39912 GB (6เดือน)3128150
4G iSmart49922 GB (6เดือน)3128200
4G iSmart5992.52.5 GB (6เดือน)5128300
4G iSmart69944 GB (12เดือน)8128300
4G iSmart89966 GB (12เดือน)12384450
4G iSmart109988 GB (18เดือน)16384650
4G iSmart12991010 GB (18เดือน)20384850
4G iSmart14991010 GB (18เดือน)203841200
4G iSmart18991010 GB (18เดือน)203842000

หลายๆคนน่าจะมีการเปลี่ยนโปรไปใช้งานกันบ้างแล้ว ซึ่งจุดเด่นจุดด้อยของแพคเกจค่ายนี้คือ

จุดเด่น

  • เน็ตให้มาเยอะพอควร และมี FUP ให้ใช้ต่อได้ถ้าเกิน

  • จำนวนนาทีโทรให้เยอะจุใจดีในโปรสูง

  • จำนวนเดือนเน็ตแถมให้มาเยอะกว่า Dtac

  • WiFi มีให้ใช้หลายที่หลายตำแหน่งมาก

จุดด้อย

  • ให้ FUP 384Kbps ที่แพคเกจสูงกว่า dtac

 

Dtac 

Dtacค่าบริการ4G|3G (GB)เน็ตแถมเน็ตรวม (GB)FUP(Kbps)โทร (นาที)ส่วนเกิน internetWiFi
LnR Non-stop2990.75-0.75128100
ซื้อเติม
- 100MB /15 บาท
- 500MB /50บาท
- 2GB / 49 บาท
- 4GB / 99บาท
Unlimited
LnR Non-stop3991.51.5 GB (6เดือน)3128150
LnR เต็ม Max3993-3-150
LnR Non-stop49922 GB (6เดือน)4128200
2nd of Love5493-3-180
LnR เต็ม Max59952 GB (6เดือน)7-300
LnR Non-stop69944 GB (6เดือน)8384300
LnR เต็ม Max79973 GB (6เดือน)10-400
LnR Non-stop89966 GB (12เดือน)12384400
LnR เต็ม Max999104 GB (6เดือน)14-600
LnR Non-stop109988 GB (12เดือน)16384600
LnR Non-stop12991010 GB (12เดือน)20384800
LnR เต็ม Max12991210 GB (6เดือน)22-800
LnR Non-stop14991010 GB (12เดือน)203841200
LnR เต็ม Max14991210 GB (6เดือน)22-1200
LnR Non-stop19991010 GB (12เดือน)203842200
LnR เต็ม Max19991210 GB (6เดือน)22-2200

ตารางจะดูยืดยาวกว่าชาวบ้าน เพราะว่ามีโปร 2 แบบคือมี FUP กับไม่มี FUP ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วจะพบว่ามีจุดเด่นจุดด้อยอยู่ดังนี้

จุดเด่น

  • มีให้เลือกทั้งสองแบบว่าอยากได้แบบมี Unlimited หรือไม่มี

  • FUP 384Kbps ให้มาเริ่มต้นที่แพค 699 บาทเท่านั้น

  • จำนวนค่าโทรในแพคสูงมีให้เยอะดี

  • แพคซื้อเน็ตเพิ่มจ่ายไม่แพง คุ้มกว่าใครเพื่อน

จุดด้อย

  • เน็ตแบบไม่มี FUP ให้มาน้อยกว่า AIS เยอะมาก

  • เน็ตแบบ FUP ให้มาไม่ได้เยอะกว่า Truemove H แต่จำนวนเดือนน้อยกว่า

 

สรุป

จากโปรล่าสุดตอนนี้ น่าจะพอสรุปได้ว่า

  • AIS เป็นค่ายที่ให้เน็ตมาเยอะและคุ้มที่สุด เยอะจนส่วนตัวมองว่าแทบไม่ต้องพึ่ง FUP แล้ว ใครจะเล่นเน็ตหนักๆ AIS คุ้มสุดละ เอาแบบจ่ายไม่แพงไปแพค 688 น่าใช้มาก

  • Dtac และ Truemove H ให้เน็ตมาเยอะแบบชนกัน ไม่หนีกันเท่าไหร่ แต่ทรูให้ระยะเวลาของเน็ตแถมมาเยอะกว่าไม่ต้องกังวล

  • ถ้าอยากคุยหนักๆด้วย เกินเดือนละ 500 นาที ยังไงก็ต้องยอมจ่ายแพงเกิน 800 บาท หรือซื้อแพคเสริมแยกเอา

  • รวมๆดูแล้ว แพคเบสิคของ Dtac ยังตามหลัง AIS และ Truemove อยู่นิดหน่อย

 

อย่างไรก็ดี การเลือกใช้ค่ายใดค่ายหนึ่ง อย่าเพิ่งดูแต่โปรนะ คุณภาพสัญญานในบริเวณที่เราใช้ควรจะเป็นเหตุผลหลักในการเลือกใช้บริการสักค่ายใดค่ายหนึ่งจะดีกว่า เพราะถ้าโปรดีแค่ไหน แต่สัญญานในชีวิตประจำวันของเราไม่ดี โปรก็อาจจะสมัครมาแบบใช้ได้ไม่คุ้มค่าเท่าไหร่นักครับ

เดี๋ยวเราจะมีบทความเรื่องการสมัครโปรอย่างไร แบบไม่ลับ ให้ได้แพคที่คุ้มค่าที่สุดมาเร็วๆนี้ พร้อมกับแพคอื่นที่น่าสนใจนะครับรอติดตาม

ระหว่างนี้อัญเชิญหากใครมีข้อมูลต้องการเพิ่มเติม หรือแก้ไข คอมเม้นมาบอกได้นะครับ

 

เพิ่มเติมเรื่องแพ็กเกจเน็ตเสริมสุดคุ้มของทุกค่าย

ทุกค่ายต่างมีแพ็กเกจเสริมอินเตอร์เน็ตสุดคุ้มที่คล้ายๆ กันคือ (ไม่รู้ว่าลอกกันมาหรือเปล่า)

  • pack เสริมอินเตอร์เน็ต 2 GB ใช้ได้ 7 วัน ราคา 49 บาท 
  • pack เสริมอินเตอร์เน็ต 4 GB ใช้ได้ 15 วัน ราคา 99 บาท

แต่แพ็กเกจเสริมเหล่านี้ในแต่ละค่ายมีเงื่อนไขในการซื้อที่ไม่เหมือนกัน ไม่ได้เปิดให้ลูกค้าสามารถซื้อได้ทุกคน โดยจะจำกัดตามเงื่อนไขตามแต่ละค่ายดังนี้

  • AIS สำหรับลูกค้าแบบจดทะเบียนรายเดือนและวัน-ทู-คอล! ที่มีแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตแบบใช้งานอย่างต่อเนื่องเท่านั้น (unlimited) ซึ่งโปรใหม่นี้ไม่เข้าเงื่อนไข เพราะไม่มีให้ แนะนำเอาไว้สำหรับคนที่ใช้โปรอื่นอยู่
  • Truemove H สำหรับลูกค้าแบบจดทะเบียนรายเดือนและต้องมีแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตแบบใช้งานอย่างต่อเนื่องเท่านั้น (unlimited)
  • Dtac สำหรับลูกค้าแบบจดทะเบียนรายเดือนและต้องมีแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตแบบใช้งานอย่างต่อเนื่องเท่านั้น (unlimited) ส่วนลูกค้าที่ใช้แพ็กเกจ Love & Roll จะต้องเป็นแพ็กเกจที่มีมูลค่าที่แพงกว่า 599 บาทเท่านั้น

ส่วนช่องทางการสมัครแพ็กเกจเน็ตเสริมที่ว่านี้แต่ละค่ายมีวิธีการซื้อที่ไม่เหมือนกันอีก สามารถอ่านรายละเอียดได้ตามด้านล่างนี้

  • AIS สามารถสั่งซื้อได้ผ่านแพ็กเกจได้ผ่านเว็บ AISอยากได้แพ๊กเกจไหนกดที่รูปได้เลย หรือสมัครผ่าน USSD *777*776#สำหรับแพ็กเกจ 4GB และ *777*775#สำหรับแพ็กเกจ 2GB

  • Dtac สามารถกดซื้อได้ผ่านแอพ Dtac ทั้งบน Androidและ iOS
  • Truemove H สามารถกดซื้อได้ผ่านแอพ H Pack ทั้งบน Androidและ iOS

AIS ประกาศพร้อมให้บริการ 4G มกรา - Dtac ลงเสา 4G ได้ตามเป้า - TrueMove รับใบอนุญาตแล้ว

$
0
0

อัพเดทความคืบหน้า 4G ในประเทศไทย ที่ในวันสองวันนี้มีความเคลื่อนไหวมากมาย โดยเมื่อวานนี้ DTAC ได้ประกาศความพร้อมลงเสาได้ 1800MHz ได้เกินเป้า พร้อมขยายความถี่เป็น 15MHz ส่วนทาง TrueMove วันนี้ก็ได้ฤกษ์ไปรับใบอนุญาตและประกาศลุย 4G ทันทีเพราะมีสถานีฐานพร้อมอยู่แล้ว ส่วน AIS แถลงข่าวเมื่อบ่าย เตรียมสุ่มให้คนใช้ 4G ได้ตั้งแต่เดือนนี้ และให้บริการแบบเต็มที่ในเดือนมกราปีหน้านี้ทันที!!

มาไล่เรียงข้อมูลที่น่าสนใจของแต่ละค่ายกันสักหน่อยละกัน

1

  • เตรียมลงทุน 4G 1800MHz  14,520 ล้านบาท
  • ติดตั้ง 6,000 สถานีฐาน ภายใน 2 เดือน เร็วที่สุดในโลก
  • กลางเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1,500 เสา
  • ขยายได้เร็วเพราะใช้เสา 2100MHz ที่มีอยู่ 25,000 เสา ลงเพิ่ม 4G 1800MHz 
  • อุปกรณ์ที่ใช้เป็นของ Huawei, ZTE และ Nokia Siemens Nokia Network
  • เริ่มสุ่มให้ลูกค้าทดลองใช้งานฟรีเดือนนี้
  • ให้บริการจริงเดือน มกราคม 2559
  • ลูกค้าในระบบมีเครื่องที่รองรับ 4G อยู่ราว 2 ล้านเครื่อง
  • คาดมีคนใช้บริการ 4G ภายในปี 2559 ทั้งหมด 4 ล้านเลขหมาย
  • ส่วน 3G 2100MHz จะมีประมาณ 40 ล้านเลขหมาย
  • ลูกค้า 2G 900MHz ยังมีเหลือค้างอยู่ในระบบราว 1 ล้านเลขหมาย
  • มีคลื่น 3G รวม 15MHz เป็น 2100MHz ทั้งหมด
  • มีคลื่น 4G รวม 15MHz เป็น 1800MHz ทั้งหมด

  • งบลงทุน 4G ใช้รวมกับงบลงทุนเครือข่ายทั้งปี 20,000 ล้านบาท
  • ติดตั้งเสา 1800MHz ในกรุงเทพและปริมณฑลไปแล้วทั้งหมด 2,200 เสา เกินจากที่ประกาศไว้ 1,800 เสา
  • มีเสาของ 4G ของ 2100MHz อยู่แล้วรวม 4,000 เสา
  • มีเสา 4G รวม 6,600 เสา !?!<< เค้าว่ามางี้นะ
  • ขยายได้เร็วเพราะใช้เสา 1800MHz เดิมที่ให้บริการ 2G อยู่แล้วได้เลย
  • มีเสา 3G 2100MHz 12xxx เสา และ 850MHz 11,000 เสา
  • ลูกค้าในระบบมีเครื่องที่รองรับ 4G อยู่ราว 3.5 ล้านเครื่อง
  • ปัจจุบันมีคนใช้บริการ 4G ราว 2 ล้านเลขหมายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 2 แสนเลขหมาย
  • ลูกค้าที่ยังถือเครื่องรองรับ 2G เท่านั้นอยู่ในระบบราว 3 ล้านเลขหมาย
  • มีคลื่น 2G รวม 14.7MHz บนคลื่น 1800MHz (10MHz) และ 850MHz (4.7MHz)
  • มีคลื่น 3G รวม 15MHz บนคลื่น 850MHz (5MHz) และ 2100MHz (10MHz)
  • มีคลื่น 4G รวม 20MHz บนคลื่น 1800MHz (15MHz) และ 2100MHz (5MHz)

 เห็นใน LINE ของ dtac มีส่งมา ใครใช้อยู่อย่าลืมไปกด Laughing out loud

2

  • เตรียมเงินลงทุน 4 หมื่นล้านบาทสำหรับขยายวันนี้ถึงปีหน้า
  • ภายใน 3 เดือนหลังจากนี้จะมีเสา 2100MHz และ 1800MHz ทั้งหมด 5,000 เสา
  • เตรียมขยายคลื่น 1800MHz ได้ทันทีเพราะอุปกรณ์ที่มีรองรับหลายเครือข่ายอยู่แล้ว
  • ลูกค้าในระบบมีเครื่องที่รองรับ 4G อยู่ราว 3.5 ล้านเครื่อง
  • ปัจจุบันมีคนใช้บริการ 4G ราว 2 ล้านเลขหมาย
  • ไม่ทราบจำนวนลูกค้าที่ยังถือเครื่องรองรับ 2G เท่านั้น
  • มีคลื่น 2G รวม 5MHz บนคลื่น 1800MHz (5MHz)
  • มีคลื่น 3G รวม 15MHz บนคลื่น 850MHz (15MHz) และ 2100MHz (5MHz)
  • มีคลื่น 4G รวม 20MHz บนคลื่น 1800MHz (10MHz) และ 2100MHz (10MHz)
  • ในปีหน้าเตรียมย้ายลูกค้าจาก 2G ออกทั้งหมดและนำเอาคลื่นที่ใช้อยู่กลับไปให้ 4G ใช้แบบเต็มๆ

 ส่วนใครจะย้ายค่ายไป true อย่าลืมถามหาของแถมเหล่านี้ Tongue

สัดส่วนจำนวนผู้ใช้แต่ละเครือข่าย (ล้านราย)

 

ที่มา mxphone (1,2) และข่าวประชาสัมพันธ์ dtac

Dtac เปิดโปรสวน ให้เน็ตสูงสุด 80GB ใช้หมดมี FUP เหลือทบไปเดือนหน้าได้

$
0
0

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว AIS ได้สร้างความฮือฮากับแพคเกจใหม่ที่ให้ลูกค้าได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบจุใจสูงสุด 75GB กันไปแล้ว ทำเอาลูกค้าค่ายอื่นมองตาปริบๆ แทบจะไปย้ายค่ายเพื่อสมัครแพคนั้นกันให้พรึ่บ ซึ่งทาง Dtac ก็ไม่ปล่อยให้ลูกค้ารอนาน เปิดโปรสวน แถมตีบวกเพิ่ม FUP ใช้ต่อได้แม้เน็ตหมด หรือถ้าใช้เหลือก็ทบไปใช้ต่อเดือนหน้าได้ เริ่มสมัครได้ทันทีตั้งแต่วันนี้

**มีการอัพเดทบทความก่อนหน้า เปรียบเทียบแพคเกจ 3G/4Gเรียบร้อย
***สำหรับคนที่ต้องการสมัครแพคเกจผ่านแอพหรือหน้าเว็บ ทาง dtac แจ้งว่ากำลังเอาระบบขึ้นอยู่นะครับ อีกไม่กี่ชม.ข้างหน้าจึงจะสมัครได้ ส่วนหน้า shop และ call center โทรไปได้เลยครับ

รายละเอียดแพคเกจ Dtac Love and Roll Super Non Stop

ค่าบริการ4G|3G (GB)+ เพิ่มฟรี 12 เดือน(GB)เน็ตรวม (GB)FUP (Kbps)โทร (นาที)WiFi
29910.51.5128100
Unlimited
3991.53.55
384
150
4995510200
5998816300
699101020300
899151530400
1099202040600
1299252550800
14993030601000
19994040802000

 

  (กดดูภาพแบบขยาย)

ขยายเงื่อนไขให้อ่านง่ายๆ ชัดๆ

  • ลูกค้าปัจจุบันสามารถสมัครแพคเกจได้ตั้งแต่ราคา 499 บาทขึ้นไป
  • อินเทอร์เน็ตวิ่งเต็มสปีด 4G 100Mbps / 3G 42Mbps
  • ใช้งานจนหมดแพคแล้ววิ่งที่ความเร็วตามคอลัมภ์ FUP ในตาราง
  • เน็ตเหลือทบไปได้เดือนต่อเดือนเท่านั้น เช่น กุมภาเหลือทบไปใช้มีนาได้ แต่ถ้ายังเหลืออีกไม่สามารถเอาของกุมภาทบไปเมษาได้ ทบไปได้เฉพาะของเดือนมีนา
  • ถ้ามีการซื้อเน็ตเสริม แล้วใช้ไม่หมด ทบไปเดือนถัดไปไม่ได้
  • ถ้ามีการเปลี่ยนแพคเกจจะเอาเน็ตเหลือจากแพคเดิม ทบตามไปไม่ได้
  • ค่าบริการส่วนเกิน โทรนาทีละ 1.50 บาท SMS ข้อความละ 1 บาท MMS ข้อความละ 5 บาท

 

เปรียบเทียบกับแพคเกจ AIS

ค่าบริการ4G รวมFUPโทร
AISDtacAISDtacAISDtacAISDtac
2992991.51.5
ไม่มี
128100100
39939955
384
150150
488499*1010200200
 599 16 300
688*6992020300300
8888993030400400
 1099 40 600
128812995050600800
 1499 60 1000
18881999758015002000

 

จุดที่ Dtac ปรับปรุงจากแพคของ AIS 

  • ลดแพคขั้นต่ำสำหรับลูกค้าปัจจุบัน จากที่ AIS บังคับให้ใช้ที่ 688 ขึ้นไป เหลือเพียง 499 บาท
  • AIS ไม่มี FUP ให้มาสักแพค หมดเมื่อไหร่ต้องเติมเงินเท่านั้น ส่วนดีแทคให้มา 384Kbps ตั้งแต่แพค 399 บาทเท่านั้น
  • เน็ตทั้งหมดสามารถใช้งานได้ทั้งบน 3G/4G ไม่ได้ต้องแยกเป็น 4G เท่านั้นให้สับสน
  • เติมจำนวนนาทีโทรออกในแพคสูงให้มากขึ้น
  • ซอยแพคย่อยลงมาในแพคสูง ไม่ต้องกระโดดทีละ 400 เหมือน AIS

 

เรียกว่าอุดช่องโหว่แทบจะทั้งหมดจากแพคของ AIS กันไปได้ในทันที

งานนี้รอดู Truemove H ว่าจะปล่อยโปรอะไรออกมา และเลือกที่จะชน หรือว่าเกทับ Dtac กันขึ้นไปอีก ส่วน JAS งานนี้อาจจะมีร้อง “รอตรูด้วย” “เหลือที่ให้ผมยืนบ้าง” หรือ ไม่แน่ว่าเค้าอาจจะมีเซอร์ไพร์สที่ทำให้ทั้ง 3 ค่ายต้องตะลึง!!

 

Viewing all 45 articles
Browse latest View live